วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและสุขภาพดีทั้งกายใจ

“ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่ลูกหลานต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพไปตามกาลเวลา รวมไปถึงสภาวะจิตใจที่บอบบางอ่อนไหวได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนในครอบครัวต้องคอยดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังนั้น หากเรามีความรู้และทักษะในการรับมือ และมี วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน พร้อมอยู่กับคนในครอบครัวอย่างยืนนาน


เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุควรเตรียมตัวอย่างไร

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงและเตรียมตัว นั่นคือ การศึกษาความรู้เพื่อให้มีความเข้าใจในผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและอารมณ์ที่ผู้ดูแลจะต้องรับมือ เนื่องด้วยสภาพอารมณ์ที่อาจจะมีการแปรปรวน หลงลืม หรือวิตกกังวล และสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ในเบื้องต้น

พร้อมกันนี้ผู้ดูแลก็จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สภาวะอารมณ์แจ่มใสละเว้นจากความเครียด ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำ การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี


วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้สุขภาพดีทั้งกายใจ

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

1. สภาพแวดล้อมที่ดี

สำหรับสภาพแวดล้อมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีดูแลผู้สูงอายุ และเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยจะต้องปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีสดชื่น ร่มรื่น เพราะนั่นจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกที่ผ่อนคลายมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ควบคุมเรื่องอาหาร

ในเรื่องของอาหารการกิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ในการที่จะให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เพียงพอและครบถ้วน ถูกสุขอนามัยตามหลักโภชนาการ และเน้นอาหารที่ค่อนข้างย่อยง่าย ไขมันต่ำ

3. หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นกระดูก หรือกล้ามเนื้อ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมสมรรถภาพช้าลง รวมถึงระบบไหลเวียนต่าง ๆ ให้มีระบบหมุนเวียนที่คล่องตัวมากขึ้น โดยการออกกำลังกายอาจจะเป็นการเดิน การยืนแกว่งแขน บริหารกายภาพ อย่างน้อยวันละ 10 – 20 นาที จะทำให้สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรงมากขึ้น

4. ควบคุมน้ำหนักตัว

การควบคุมน้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่ควรต้องพึงกระทำ เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป อาจเป็นการส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา พร้อมกันนี้การควบคุมน้ำหนักจะช่วยลดในเรื่องของปัญหาข้อและกระดูกอีกด้วย

5. หากิจกรรมทำร่วมกัน

ในวัยของผู้สูงอายุในบางราย เกิดสภาวะอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์น้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกเหมือนไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งอาการนี้อาจทำให้สภาพจิตใจนั่นแย่ลง การหากิจกรรมทำร่วมกัน หมั่นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ได้ทำร่วมกัน สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว นอกจากนั้น ยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

6. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยในการดูแลผู้สูงอายุ นั่นก็คือ การพาไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจตามมา เพื่อที่จะได้รักษาอาการได้ทันถ่วงที พร้อมกับการวางแผนรักษาในระยะยาวต่อไป หากต้องพา ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพ ควรเตรียมตัวอย่างไร?

7. สังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ

ลูกหลานหรือคนในครอบครัว ควรที่จะหมั่นสังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อเช็กความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรืออารมณ์ เพื่อป้องกันเฝ้าระวังและหาวิธีรักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่น ๆ 

8. ละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

การดูแลผู้สูงอายุในส่วนของการละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ควรที่จะ งด ละ เลิก ทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสื่อมสภาพของร่างกายที่จะตามมา


ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

สำหรับวิธีการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากคนในครอบครัวและลูกหลานจะดูแลเอาใจใส่แล้ว ยังมีเรื่องของข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน หากเราสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้ผู้สูงอายุก่อเกิดความเครียดได้ ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางกายและจิตใจ เป็นข้อควรระวังที่คนในครอบครัวควรปฏิบัติ

1. ระมัดระวังคำพูดที่กระทบจิตใจ

สิ่งข้อควรระวังอย่างแรก นั่นก็คือ คำพูดของลูกหลานที่มีต่อผู้สูงอายุ การที่จะพูดหรืออธิบายควรที่จะใช้คำพูดหรือการกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่พูดจาที่กระแทกหรือใส่อารมณ์ เพราะวัยสูงอายุเป็นวัยที่สภาพจิตใจนั้นบอบบาง

2. ให้ความสำคัญ ไม่ละเลย

ลูกหลานต้องหมั่นเข้าไปถามไถ่พูดคุยกับผู้สูงอายุอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นหนึ่งในคนสำคัญของครอบครัว ในบางเรื่องอาจให้อำนาจในการตัดสินใจ รวมไปถึงการเห็นคุณค่าและเคารพนับถือ 

3. การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

ในส่วนของวิธีดูแลผู้สูงอายุ ในด้านของสิ่งที่ควรต้องระวัง นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุบุคคลนั้น ๆ คนในครอบครัวควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาพื้นฐาน ว่าผู้สูงอายุสามารถทานได้หรือไม่ได้ เพราะหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาจส่งผลเสียต่อสุขร่างกายของผู้สูงอายุได้

4.การเกิดอุบัติเหตุ

อีกหนึ่งข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม หรือ พลัดตก ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นสิ่งที่ตามมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแข็งแรงเคลื่อนไหวตัวไม่สะดวก ดังนั้น การจัดบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญควรจะให้มีความเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

สำหรับวิธีดูแลผู้สูงอายุ หากคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ย่อมจะส่งผลดีให้แก่ผู้สูงอายุที่เราเคารพรัก เพื่อผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส หากทุกคนช่วยกันหันมาดูแล ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาว อยู่ในครอบครัวที่แสนอบอุ่นต่อไปได้


อ้างอิง