Tag

กรดไหลย้อน

Browsing

ปัจจุบันนี้ผู้ป่วย โรคกรดไหลย้อน พบว่ามีสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นความผิดปกติกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารและท่อทางเดินอาหาร ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ วันนี้เรามีลักษณะอาการ การดูแลรักษาโรคกรดไหลย้อนว่าต้องทำอย่างไรถึงจะหายและไม่กลับมาเป็นอีก


โรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร และอาการเป็นอย่างไร 

โรคกรดไหลย้อน เกิดจากอะไร และอาการเป็นอย่างไร 

โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารทำงานผิดปกติ เช่น เกิดการอ่อนแอ เกิดการคลายตัว เป็นต้น จนทำให้ไม่สามารถป้องกันการย้อนกลับของอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะเกิดการย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร

ซึ่งสิ่งที่ย้อนกลับขึ้นไปไม่ได้มีเพียงแค่อาหารที่กินเข้าไป น้ำย่อยนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารเกิดอาการระคายเคืองหรือโรคกรดไหลย้อน โดยโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการดังนี้

    1. แสบร้อนบริเวณหน้าอก พบได้บ่อยโดยเฉพาะช่วงหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก
    2. เรอเปรี้ยว รสเปรี้ยวหรือรสขมนี้เป็นรสของน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดนั้นเอง
    3. ท้องอืด แน่นท้อง หรือมีอาการ ท้องผูก ร่วมด้วย
    4. คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง จึงต้องการเอาอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา
    5. แน่นหน้าอก น้ำย่อยและอาหารเกิดการย้อนกลับขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร จึงเจ็บหน้าอกหรือจุกหน้าอก 
    6. หืดหอบ ไอแห้ง ๆ เสียงแหบ
    7. เจ็บคอเรื้อรัง

นี่เป็นลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกจะมีความรุนแรงเล็กน้อย มีอาการช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วหายไป แต่ถ้าไม่ทำการรักษา ความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อนก็จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากมีอาการเหล่านี้ควรตรวจสอบและทำการรักษาทันที


วิธีแก้โรคกรดไหลย้อนเบื้องต้น 

วิธีแก้โรคกรดไหลย้อนเบื้องต้น 

การรักษาโรคกรดไหลย้อนทำได้ไม่ยาก ยิ่งถ้าอาการของโรคไม่รุนแรงก็จะยิ่งรักษาให้หายได้อย่างรวดเร็ว โดยการรักษาโรคกรดไหลย้อนเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมีวิธีการดังนี้

  1. แบ่งกินน้อย ๆ ปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้กินมื้อละน้อย ๆ แต่กินหลาย ๆ มื้อ
  2. ห้ามนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จ ควรเว้นระยะอย่างน้อย 30- 40 นาที ถึงจะสามารถนอนได้หรือใช้การเอนหลังเพียงแค่ 30-40 องศาแทนการนอนราบกับพื้น บางรายก็เกิดอาการ นอนไม่หลับ แทน
  3. งดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะมันจัด เผ็ดจัด และงดอาหารที่มีไขมันสูง
  4. อย่าเครียด ความเครียดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารหลังจากที่รับประทานอาหารไปแล้ว ดังนั้นควรรู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด เพื่อลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร 

โรคกรดไหลย้อนดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง 

โรคกรดไหลย้อน ดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง 

หากปรับพฤติกรรมตามนี้อาการกรดไหลย้อนที่เป็นอยู่จะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายได้เองตามลำดับ แต่สำหรับคนที่มีอาการกรดไหลย้อนขั้นรุนแรง การปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถหายได้ ดังนั้น จำเป็นต้องการได้การรักษาดังนี้

1. การรักษาด้วยยา

การรักษาโรคกรดไหลย้อนในช่วงแรก จะทำการรักษาด้วยการรับประทานยาก่อน โดยยาที่ใช้รักษาโรคจะแบ่งออกเป็นลำดับ ดังนี้

  • ยาลดกรด (Antacids) หรือยาลดการผลิตกรด (H2-BLOCKERS) เป็นยาใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน โดยตัวยาจะเข้าไปทำปฏิกิริยาเกิดเป็นฟองหรือโฟมที่บริเวณด้านบนของกระเพาะอาหารช่วยป้องกันไม่ให้อาหารและน้ำย่อยย้อนขึ้นไปหลอดอาหาร ยานี้เหมาะกับโรคกรดไหลย้อนที่ไม่รุนแรงและบรรเทาอาการได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ 
  • ยาปั๊มกรดหรือยายับยั้งโปรตอนปั๊ม เป็นยารักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการเข้าไปยับยั้งการผลิตกรดที่บริเวณกระเพาะอาหาร โดยการเข้าไปจับตัวกับโปรตีนที่ใช้ในการสร้างกรดน้ำย่อย ทำให้กระเพาะอาหารไม่สามาถรผลิตน้ำย่อยออกมาได้ 
  • Prokinetics Agents คือ ยาที่อยู่ในกลุ่ม Prokinetic Agents ซึ่งยาชนิดนี้จะเข้าเป็นยาที่เพิ่มการบีบตัว (motility) หรือกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดที่กระเพาะอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปิดได้สนิท ส่งผลให้อาหารและกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไม่สามารถไหลกลับขึ้นมาได้ 

2. การผ่าตัด

สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนและรักษาด้วยยาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่สามารถควบคุมหรือรักษาโรคให้หายได้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากการกินยารุนแรง สามารถทำการรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการผ่าตัด เพื่อตกแต่งกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารให้กระชับ


โรคกรดไหลย้อน ห้ามกินอะไร 

โรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร 

เมื่อมีอาการโรคกรดไหลย้อนไม่สามารถกินอาหารได้ทุกอย่าง เนื่องจากกระเพาะอาหารและหลอดอาหารมีความผิดปกติ โดยอาหารต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคกรดไหลย้อนมีดังนี้

  1. อาหารรสจัด เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด เพราะอาหารรสจัดจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 
  2. อาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน  ไขมันสัตว์ ไขมันพืช เป็นต้น เพราะอาหารมันจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำย่อย ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้องได้
  3. อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น น้ำอัดลม น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง ถั่ว รวมถึงผักที่ทำให้เกิดแก๊สสูง เช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ และของหมักดอง เป็นต้น เพราะแก๊สที่เกิดจะส่งผลให้น้ำย่อยเกิดมากขึ้น

อาหารต้องห้ามสำหรับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีความสุดโต่ง เช่น มันจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัดและอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ดังนั้น สำหรับผู้สูงอายุ หรือคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรเลือกรับประทานอาหารรสอ่อน ๆ และรับประทานน้อย ๆ ในแต่ละมื้อ แต่เพิ่มมื้อระหว่างวัน เพื่อป้องกันลดปริมาณน้ำย่อยที่กระเพาะอาหารสร้างขึ้นให้น้อยลง


5 สมุนไพรบรรเทา โรคกรดไหลย้อน

5 สมุนไพรบรรเทาโรคกรดไหลย้อน

การรับประทานสมุนไพรสามารถบรรเทาและรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อนมีอยู่หลายชนิด ดังนี้

  1. ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการช่วยขับลม ย่อยอาหารได้ดีมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยเคลือบผนังของกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร จึงช่วยลดอาหารแสบร้อนได้
  2. กล้วยดิบ ในกล้วยดิบจะมีสารแทนนินที่มีสรรพคุณช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร สมานบาดแผล และช่วยลดอักเสบได้
  3. ขิง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร 
  4. ผลมะตูมอ่อน เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร สมานแผลในกระเพาะอาหาร
  5. ว่านหางจระเข้ เป็นอีกหนึ่งสมนไพรที่มีสรรพคุณช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดกรดได้เป็นอย่างดี

สมุนไพรที่กล่าวมานี้เป็นสมุนไพรที่หารับประทานได้ง่าย ๆ แต่รับรองได้ว่าช่วยบรรเทาและรักษาอาการโรคกรดไหลย้อนเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ ในผู้ป่วยสูงอายุหากจะทานสมุนไพร ควรระวังเรื่องโรคประจำตัวต่าง ๆ หรือควรพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม


อ้างอิง