Tag

โรคผู้สูงอายุ

Browsing

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกายและสมอง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม ดังนั้น การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยจะต้องมีการป้องกันการเกิดโรค และการดูแลรักษาโรคให้เหมาะสม


โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

1. โรคสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในระบบการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลงหรือบกพร่อง เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่อง มักพบมาในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกายหรือสูบบุหรี่เป็นเวลานาน และผู้คนที่ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสมอง ส่วนมากจะพบในอายุ 60 ปีขึ้นไป

2. โรคกระดูกพรุน

โรคเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนลดลงในผู้สูงอายุ พบมากในผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้แคลมเซียมสลายออกจากกระดูกมากขึ้น กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง กระดูกบางและเปราะหักง่ายขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

3. โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าอักเสบ หรือข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ผู้ที่ใช้ข้อเข่ามากเกินไปหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การใช้งานขาและหัวเข่าผิดท่าสะสมเป็นเวลานาน หรือเป็นโรคที่ส่งผลกับเข่า เช่น โรคอ้วน โรคเกาต์ และอาการอักเสบของเข่า เป็นต้น

4. โรคเบาหวาน

เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

5. โรคไต

โรคไตในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนตามอายุ และการโตขึ้นของเยื่อต่อมลูกหมาก ระยะเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเสื่อมลง จะเกิดการคั่งของเสียในกระแสเลือด และมีอาการต่าง ๆ ตามมา

6. โรคความดันโลหิตสูง

คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดสมองตีบและแตก และทำให้เกิดการเสื่อมลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้ไม่ดี โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยมาจากความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย และการได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด

7. โรคตา

ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ตาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงไป โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคต้อลม โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง และน้ำวุ้นตาเสื่อม หากดวงตามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที

8. โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคที่คนไทยป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง พบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุของโรคมักเกิดมาจากการสะสมไขมันของเส้นเลือด อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ และเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น หากปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง อาจเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน

9. โรคมะเร็ง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากอายุมากขึ้นเซลล์ในร่างกายนั้นเสื่อมลง และกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ มะเร็งในผู้ชายสูงอายุ ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งตับอ่อน / มะเร็งในผู้หญิงสูงอายุ มักพบมะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์ เช่น มดลูก เต้านม และรังไข่ ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็มีมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อน

10. โรคหลอดเลือดสมอง

อีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตและพิการ โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะมีสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลันมาจากอาการขาดอาหารและเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตายสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุเพศชายอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี 

อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรกินอย่างไรจึงเหมาะสม 

  1. เลือกอาหาร วัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อย ๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว แนะนำ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไรดี 
  3. สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
  4. หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่าง ๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้
  5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียง อาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด
  8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ล่ะก็ควรพบแพทย์ดีที่สุด
  9. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

สรุป 

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงการป่วยเป็นโรคที่พบบ่อยผู้สูงอายุนั้น ตัวผู้สูงอายุเองตลอดจนผู้ที่ดูแลไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ทั้งการควบคุมอาหาร งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่รับประทานยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้

แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีอาจมีแนวทางที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดที่แตกต่างกันรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวผู้สูงอายุเองคือการที่ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชิวิตได้ด้วยตนเอง โดยมีการพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ผู้สูงอายุมีความพอใจกับความสุขตามอัตภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุมีความสามารถทำตัวให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม เพื่อสร้างความภูมิใจในคำยกย่องจากสังคมโดยรวมการ สำหรับดูแลผู้สูงอายุด้วยคนในครอบครัวเป็นการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเรื่องของปัจจัยสี่ การให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และการดูแลรักษาสุขภาพทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ

สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยสถาบันต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์ สถานพยาบาลหรือสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เป็นต้น มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกเพื่อร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในชุมชนระหว่างตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว คนในชุมชนและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่มีลักษณะการบริการที่แตกต่างกัน การ เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี บทบาทสำคัญอยู่ที่ครอบครัวกับผู้สูงอายุ โดยครอบครัวต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุต้องมีเจตคติที่ดีต่อความสูงวัยอันจะทำให้เกิดความเข้าใจ ความเอื้ออาทรอย่างแท้จริงในการดูแลผู้สูงอายุ หากจะเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างความรู้ในการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุกับการส่งเสริมให้คนในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวมากกว่า


อ้างอิง

ท้องผูกในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย สามารถป้องกันได้ เพื่อลดความรุนแรง และอาการเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาหลายประการ โดยภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบอยู่ที่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์

พบมากในเพศหญิงและผู้ที่มีอายุมาก ส่วนอุบัติการณ์ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ ปกติพบมากในชุมชนถึงร้อยละ 10-20 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน แต่ในสถานบริบาล อาจพบสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว การดูแลภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานควรเอาใจใส่ ไม่ควรปล่อยปะละเลย สุขภาวะนี้ในผู้สูงอายุ


ท้องผูกในผู้สูงอายุ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง 

ท้องผูกในผู้สูงอายุ

เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาท้องผูก สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ทั้งกาย พฤติกรรม และอาหาร เช่น

1. โรคต่าง ๆ 

ผู้สูงอายุมักจะมีภาวะของโรคอยู่หลาย ๆ โรค ที่ทำให้มีโอกาสท้องผูกได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน

2. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย

ผู้สูงอายุบางคนมักรับประทานอาหารน้อยลง ดื่มน้ำน้อย หรือมีความอยากอาหารลดน้อยลง บางคนจะรับประทาน อาหารที่มีกากใยไม่ค่อยได้ ซึ่งอาหารที่มีเส้นใยจะเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อน

3. สุขนิสัยส่วนตัว

ผู้สูงอายุควรสร้างนิสัยการขับถ่ายที่ดี เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเวลา หรือไม่กลั้นอุจจาระบ่อยๆ

4. ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง

สาเหตุจาก การบดเคี้ยวไม่ดี เนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง โดยความรับรู้ความรู้สึกของตัวลำไส้น้อยลงที่เป็นไปตามอายุมากขึ้น

5. ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือไม่มีการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกาย และการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหาร ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวให้มีการขับถ่ายดีขึ้น

6. การรับประทานยาระบาย

หากทานยาระบายเป็นประจำ จะทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอ จนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้

7. ความเครียด

ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้

8. ยารักษาโรคบางชนิด

อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิดอย่าง มอร์ฟีน

9. สาเหตุอื่น ๆ

ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการทำงานของต่อมบางอย่างที่ผิดปกติไป ฯลฯ

หากผู้สูงอายุมีปัญหาท้องผูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของลำไส้ และการดื่มน้ำให้เพียงพอ อาจมีการให้ยาแก้ท้องผูก เพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือใช้วิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อลดอาการท้องผูก

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรรักษาพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เช่น บริโภคอาหารที่มีใยอาหารเพียงพอ ดื่มน้ำเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และรักษาระยะเวลาการนอนหรือนั่งให้เหมาะสม


ท้องผูกในผู้สูงอายุ มีแนวทางดูแลป้องกันได้อย่างไร 

ท้องผูกในผู้สูงอายุ มีแนวทางดูแลป้องกันได้อย่างไร 

1. รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น

อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิล เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ

2. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

แนะนำให้ ผู้สูงวัยดื่มน้ำ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ถ้าแพทย์ไม่ได้จำกัดน้ำดื่ม) อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง

3. ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน

ไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งตำราโบราณถือว่า เวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด หรือจัดสถานที่ขับถ่ายให้เหมาะสม

4. ออกกำลังกายเบา ๆ

การออกกำลังกาย เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น

5. ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่งหรือผ่าตัด

ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1-4 ไม่ได้ผล การใช้ยาระบายให้ใช้เท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติตัวดีก็หายเองได้ หากไม่หายอาจจำเป็นต้องคำนึงถึงการผ่าตัด ในกรณีที่พบว่ามีการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้ใหญ่ที่ช้ามาก อาจจะต้องตัดลำไส้ออก

6. ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน

สูดลมหายใจเข้าออกยาว ๆ ฟังดนตรีเบา ๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย

6 ข้อเหล่านี้คือมาตรการในการป้องกันและรักษาภาวะท้องผูกที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ หากผู้สูงอายุมีอาการท้องผูก และไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย มีภาวะเครียด และรบกวนการดำเนินกิจวัตรประจำวัน

อาการท้องผูกเป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ทุกคนควรใส่ใจในการป้องกัน และการแก้ไขภาวะท้องผูก อีกทั้งช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ


อ้างอิง

อายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญส่งผลต่อภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งพบว่าในผู้สูงอายุมักมีการนอนไม่หลับสูงกว่าวัยอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่า ในประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาการ นอนไม่หลับ สูงถึง 50% มีภาวะการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ 2-10% ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และควรทำความเข้าใจ


ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ มีสาเหตุนะ! ไม่ใช่เรื่องปกติ

ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ ทำยังไงดี? มีวิธีแก้หรือไม่?

สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดจากอายุที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสมองของคนเราจะเสื่อมไปตามวัยนั้นพบได้ในผู้สูงอายุทุกเพศ และเป็นแทบทุกคน แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีก็ตาม การทำงานของสมองจึงรวน ทำให้การทำงานของร่างกายเสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดลง ตลอดจนโรคประจำตัวที่รบกวนการนอน

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาที่การนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ทั้งกายและจิตใจ นอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัญหาทางกาย เช่น อาการปวดเจ็บ ไม่สบายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือปัญหาทางสังคม จึงต้อง ดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ

ซึ่งสามารถกล่าวโดยรายละเอียด แบ่งออกได้คือ

  1. ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ทำให้มีผลกระทบในการนอนต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมหมวกไต หรือไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง
  2. ผู้สูงอายุที่มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามร่างกาย ส่งผลทางอ้อมต่อการนอนหลับ เช่น โรคข้อเสื่อม
  3. ผู้สูงอายุที่ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทหรือสมอง เช่น การใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน การใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสัน หรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิด อาทิเช่น ยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ เมื่อผู้สูงอายุใช้ยาเหล่านี้จะส่งผลต่อการนอนไม่หลับ ซึ่งหากผู้สูงอายุหยุดกินยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง
  4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล

ในเรื่องของการตื่นนอนกลางดึกที่ผู้สูงอายุ รวมถึงคนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากมีการตื่นกลางดึกและสามารถนอนหลับต่อได้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง และไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนแต่อย่างใด


ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่? 

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่? 

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้ โดยเริ่มต้นให้ดูก่อนว่า ผู้สูงอายุประสบปัญหามีเรื่องใด วิตกกังวลอยู่หรือไม่ หากมีให้จัดการที่เรื่องนั้น เมื่อไม่มีความวิตกกังวลก็จะสามารถนอนหลับได้ในที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีเรื่องวิตกกังวล อาจมีในเรื่องของโรคประจำตัวที่รบกวนการนอน ซึ่งควรดูแลที่ตัวโรคนั้น ๆ และสนันสนุนปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ด้วยการป้องกันและการดูแลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอน ดังนี้

1. การจัดห้องนอน

จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่ช่วยให้หลับสบาย ได้แก่

  • มีความเงียบสงบ
  • ใช้ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มที่มีสีไม่ฉูดฉาด
  • ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
  • ไม่ควรสว่างเกินไป เพราะแสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับ

2. การเข้านอน

ควรให้ความสำคัญกับเวลา และสถานที่ในการนอน ได้แก่

  • พยายามนอนให้เป็นเวลา และสถานที่เดิมทุกวัน เพื่อให้เกิดความเคยชิน
  • ไม่ควรนอนกลางวันเป็นเวลานาน ๆ อาจหากิจกรรมเบา ๆ ทำ หรือพูดคุยเล่น หากเพลีย หรือง่วงจริง ๆ อาจงีบได้บ้าง แต่ไม่ควรงีบหลังบ่าย 3 โมง เพราะจะทำให้กลางคืนหลับยาก
  • ไม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำมากนัก เวลาที่เหมาะสมคือ 3-4 ทุ่ม และตื่นตี 4-5

3. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

  • เลือกรับประทานอาหารเย็นให้เป็นเวลา และควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • พยายามดื่มน้ำช่วงเช้าและกลางวัน และดื่มให้น้อยลงหลังอาหารเย็น เพื่อลดการปัสสาวะตอนกลางคืน นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหลัง เวลาบ่าย 2 โมง คำแนะนำในการ ดื่มน้ำสำหรับผู้สูงวัย
  • งดการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดการดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่

4. กิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการนอนหลับ

  • พิ่มกิจกรรม หรือออกกำลังกายในช่วงกลางวันให้มากขึ้น และเมื่อถึงเวลานอน แต่ผู้สูงอายุไม่ง่วง ควรหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ
  • ฝึกทำสมาธิก่อนนอน เพื่อให้จิตใจสงบ จะทำให้นอนหลับได้ลึกและเต็มอิ่ม

5. แพทย์และการใช้ยา

  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับ และรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
  • หากต้องใช้ยานอนหลับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ติดได้ 

หากผู้สูงอายุมีปัญหาที่การนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพ เพื่อการวินิจฉัย และรับการดูแลที่เหมาะสม แพทย์อาจต้องการทำการตรวจร่างกาย การวิเคราะห์ประวัติการนอนหลับ หรือแบบประเมินอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของปัญหานอนไม่หลับ

นอกจากนี้ สามารถทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อส่งเสริมการนอนหลับ เช่น ตั้งเวลานอน และตื่นเช้าให้เป็นประจำ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ ลดการบริโภคสารติดต่อใจ และเลือกทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยได้


อ้างอิง

เมื่อเกิดปัญหา เข่าเสื่อม มักจะมีอาการเจ็บปวดและความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า อาการเข่าเสื่อมสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเกิดการสึกหรอ อาการเสื่อมสภาพของกระดูกเข่า การบาดเจ็บ ภาวะอักเสบ หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อข้อเข่า

หากผู้สูงอายุมีอาการเข่าเสื่อม ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษา เช่น การเล่นกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า การผ่าตัด นอกจากนี้ อาจมีการแนะนำให้ใช้สายรัดเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือการรับประทานยาบางชนิด เพื่อควบคุมอาการปวด เป็นต้น


เข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุมักเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

เข่าเสื่อม เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนของข้อเข่าสึกหรอ ฉีกขาด จนไม่สามารถหล่อลื่นข้อเข่าให้ใช้งานเป็นปกติได้ เรียกว่า “ภาวะข้อเข่าเสื่อม” บางครั้งอาจจะมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดร่วมด้วย เมื่อกระดูกอ่อนสึกหรอจนถึงกระดูกแข็ง โดยอาการข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการปวดข้อเข่า  รู้สึกข้อเข่าขัดๆ เคลื่อนไหวไม่สะดวก  มีเสียงดังในข้อ เวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อเข่า ตลอดจนเข่าโก่งงด ผิดรูปร่าง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าเวลาลงน้ำหนักเข่าขณะเดิน หรือขึ้นลงบันได

ข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะเกิดกับคนไข้อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็น โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ  โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในคนไข้ที่น้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ หรือในกรณีที่คนไข้ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า หรือเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ข้อแบบผิดๆ ซึ่งสาเหตุของข้อเข่าเสื่อม มีรายละเอียดดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย
  • น้ำหนักตัวที่เกิน จะเพิ่มแรงกระทำต่อข้อเข่า
  • การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่กระตุ้นให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ ผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนการใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ ทำให้มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก
  • ผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน
  • การใช้งานเข่าอย่างผิดวิธี เช่น ออกกำลังกายโดยการวิ่งทุกวัน หรือเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด โดยไม่ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา
  • เคยประสบอุบัติเหตุที่เข่าโดยตรง เคยได้รับการผ่าตัดที่เข่า จะทำให้เป็นเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  • ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ เก๊าต์ เป็นต้น 

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? 

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่?

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ โดยหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อเข่า เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย ไขว้ขา หรือการบิดหมุนเข่า, การขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น, การยกหรือแบกของหนักๆ, ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดแรงกดและแรงกระแทกที่ข้อเข่า, หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดหรือใช้ข้อเข่ามาก เช่น บาสเกตบอล การวิ่ง เทนนิส เป็นต้น  ตลอดจนออกกำลังกายและบริการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่แนะนำคือ การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน

โดยแนวทางการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม เริ่มตั้งแต่การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา คือ การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่า ผู้สูงอายุออกกำลังกาย เพื่อบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการปวดข้อเข่ายังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง คือ 

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก มีขาผิดรูปน้อย แพทย์จะให้รับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่ Steroid หรือการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า นอกจากนี้ การออกกำลังกาย การใช้ผ้ายืดพยุงเข่า หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้ค้ำยัน และการทำกายภาพบำบัด สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รักษาตามอาการ เช่น ดูดน้ำออกจากเข่า เพื่อลดอาการบวมและให้สามารถงอ เหยียดเข่าได้ ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของข้อที่มีอาการเจ็บ อาจใช้สเตียรอยด์ในกรณีอักเสบเรื้อรัง
  • ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ และไม่ให้ข้อสึกมากขึ้น
  • รักษาด้วย Platelet Rich Plasma (PRP) โดยการฉีดเกล็ดเลือดของผู้ป่วยที่ผ่านการปั่นแยก จนได้สารเลือดที่เหมาะกับการใช้รักษา เพื่อช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมให้ร่างกายรักษาความเสื่อมของข้อเข่า
  • ฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) ส่วนใหญ่ใช้รักษาควบคู่กับการฉีดเกล็ดเลือด เพื่อลดความฝืดของข้อเข่า

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดจะทำในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ข้อเข่าของผู้ป่วยมีการเสื่อมค่อนข้างมาก และไม่สามารถรักษาโดยการใช้ยาหรือทำกายภาพบำบัดได้ ซึ่งการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดก็มีอยู่หลายวิธีตามสภาพและความรุนแรงของข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจาก อาการ อายุ การงาน อาชีพ และระยะเวลาการพักฟื้น เพื่อเลือกการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อเข่า (Arthroscope) เป็นการผ่าตัดด้วยกล้อง โดยแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ 2 รูใต้ลูกสะบ้า เพื่อสอดกล้องเข้าไปในข้อเข่า แพทย์สามารถมองเห็นผิวกระดูกอ่อน หมอนรองกระดูก ความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อในข้อเข่าผ่านจอมอนิเตอร์ และสามารถประเมินขอบเขตที่สึกหรอในเข่าได้ดีขึ้นมากกว่าข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายทางรังสี ระหว่างการผ่าตัดแพทย์สามารถสอดเครื่องมือพิเศษ เพื่อทำการผ่าตัดตามที่แพทย์ต้องการได้ เช่น การชำระล้างข้อเข่า การดูดเอาเศษเนื้อเยื่อที่ลอยอยู่ในเข่าออก การตกแต่งขอบที่แผลของกระดูกอ่อน การตัดเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นพังพืดที่เสียดสีกับกระดูกอ่อนในเข่า การเย็บซ่อมแซมหมอนรองกระดูก หรือเอ็นไขว้ผ่านกล้อง การผ่าตัดกระตุ้นการซ่อมแซมผิวกระดูกอ่อน เพื่อให้มีการสร้างเนื้อเยื่อเข้าแทนที่กระดูกอ่อนที่สึกหรอไปแล้ว เป็นต้น
  • การผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty) คือ การผ่าตัดที่เอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่เสื่อมมากแล้วออก โดยเก็บรักษาผิวข้อในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียมและกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน ในส่วนของเส้นเอ็นต่างๆ ภายในข้อเข่าจะยังอยู่ในสภาพเดิม ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ข้อเข่าได้ใกล้เคียงข้อเข่าปกติมากที่สุด สามารถลงน้ำหนักเดินได้ใน 1-2 วันหลังผ่าตัด ข้อเข่ามีอายุการใช้งานได้นานมากกว่า 10 ปี ถึง 97-98% และหากมีความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขในอนาคต จะสามารถทำได้ง่ายกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty) จะพิจารณาในรายที่ข้อเข่ามีการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง และได้พยายามรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดความพิการผิดรูปของข้อเข่าในลักษณะเข่าโก่งงอ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมดเป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่เสื่อมบริเวณกระดูกข้อเข่าส่วนต้นขาและบริเวณหน้าแข้ง แล้วเสริมฝังข้อเข่าใหม่ทดแทน ซึ่งทำมาจากวัสดุโลหะชนิดพิเศษที่ได้รับการออกแบบให้เหมือนธรรมชาติ และอยู่ในร่างกายได้ตลอดชีวิตโดยไม่เป็นอันตราย และมีส่วนที่กระดูกอ่อนเทียม ซึ่งทำมาจากวัสดุคล้ายพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความทนทานต่อการใช้งาน

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? 

เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาเสร็จสิ้นเรียบร้อย ควรมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ โดยการควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป, หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เข่าเสื่อม เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือนั่งทับเข่าเป็นเวลานาน, งดการเล่นกีฬาที่ทำให้เอ็นฉีกง่าย  เช่น แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล, เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่าให้กระชับแข็งแรง, ฉีดน้ำไขข้อเทียม เมื่อมีอาการหรือตามแพทย์แนะนำ

รวมถึงรับประทานคอลลาเจน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวข้อและหมอนรองกระดูก ทั้งนี้ คอลลาเจนไม่ช่วยลดอาการเจ็บของข้อเข่า แต่เป็นการช่วยเสริมสร้างผิวข้อและหมอนรองกระดูกให้แข็งแรงขึ้นได้ เปรียบเหมือนการรับประทานวิตามินที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน จึงจะเห็นผล ถือเป็นการลดความเจ็บลงทางอ้อม


อ้างอิง

เมื่อเราเจอผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึง เรามักคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องได้ยินลดลงอยู่แล้ว แต่การที่เราปล่อยให้ปัญหาการได้ยินไม่ชัดในผู้สูงอายุเป็นอยู่นาน นำมาสู่ปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ตามมามากมาย ทำให้ผู้สูงอายุเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว เกิดปัญหาระหว่างผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวกับผู้สูงอายุได้ หากมีอาการรุนแรง นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว การไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างเป็นปกติยังมีผลกระทบทางด้านจิตใจได้อีกด้วย จึงควรรู้สาเหตุเพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป


 หูตึง เกิดจากสาเหตุใดบ้างในผู้สูงอายุ

หูตึง เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

ปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึงในผู้สูงอายุ มักเกิดจากส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่าง ๆ ความผิดปกติบริเวณนี้ของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หรือหูหนวกถาวรได้เกิดจากการเสื่อมและตายของเซลล์ขนรับเสียง (Hair cells) ในหูชั้นใน รวมถึงประสาทบริเวณหูชั้นในค่อย ๆ สึกกร่อนหรือฉีกขาดไป ส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นจะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูง จากนั้นความเสื่อมจะค่อย ๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความบกพร่องของการได้ยิน ได้แก่ โรคของเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ, เลือดออกในสมอง จากไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, เนื้องอกในสมอง เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหูการรับรวมไปถึงประทานยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นได้ อีกทั้งการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น


การวินิจฉัยหูอื้อ หูตึงในผู้สูงอายุ

โดยธรรมชาติแล้วการได้ยินจะค่อย ๆ เสื่อมลงตามวัย การได้ยินบกพร่องของผู้สูงอายุ จะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และเสื่อมเท่ากันทั้ง 2 ข้างในช่วงความถี่สูง ซึ่งจะวินิจฉัยในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี และไม่มีสาเหตุอื่นที่ทำให้การได้ยินบกพร่อง ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ เนื่องจากมีเสียงรบกวนในหู และมักมีปัญหาฟังไม่รู้เรื่อง หรือได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลจากความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางตามวัย นอกเหนือไปจากหูชั้นในเสื่อม ทำให้มีปัญหาในการได้ยินมากกว่าผู้ที่มีการได้ยินบกพร่องในระดับเดียวกันที่มีอายุน้อยกว่า

โดยปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึงในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดกับผู้สูงอายุ พบได้ถึงร้อยละ 25-40 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามวัย กล่าวคือ อุบัติการณ์ของผู้สูงอายุที่มีประสาทรับเสียง เสื่อมตามวัย พบได้ตั้งแต่ร้อยละ 40-60 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี และเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 85 ปี เรื่องที่ควรรู้ ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง ?

การวินิจฉัยและรักษาปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึงในผู้สูงอายุ

การวินิจฉัยปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ อาศัยการซักประวัติถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้, การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู, การตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจการได้ยิน เพื่อยืนยัน และประเมินระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยิน, การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และการถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์สมอง หรือกระดูกหลังหู หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด ถ้ามีข้อบ่งชี้

ดังนั้น ผู้สูงอายุที่มีอาการดังต่อไปนี้แสดงว่าหูเริ่มตึงแล้ว ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับการได้ยิน

  • ผู้สูงอายุมักได้ยินคำเตือนว่าพูดเสียงดังเกินไป
  • ผู้ดูแล หรือญาติ พูดแล้ว ผู้สูงอายุทำหน้าไม่เข้าใจ และแสดงอาการว่าไม่ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง
  • ผู้สูงอายุมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค
  • ผู้สูงอายุ เปิดเสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ดังจนข้างบ้านบ่น หรือไม่ค่อยได้ยินเสียงโทรศัพท์ ในขณะที่ผู้อื่นได้ยิน
  • ผู้สูงอายุเข้าใจสิ่งที่พูดได้ยาก ถ้าในขณะพูดมีเสียงเพลงหรือวิทยุดัง

ทั้งนี้ การมีภาวะหูตึง คือ ภาวะที่ความสามารถในการได้ยินลดลง ซึ่งมีระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน ดังนี้

ระดับการได้ยิน (เดซิเบล) ระดับความรุนแรง ความสามารถในการเข้าใจคำพูด
0 – 25 ปกติ ได้ยินเสียงพูดคุย
26 – 40 หูตึงน้อย ไม่สามารถได้ยินเสียงกระซิบ
41 – 55 หูตึงปานกลาง ไม่ได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ
56 – 70 หูตึงมาก ไม่ได้ยินแม้คนที่พยายามพูดเสียงดัง
71 – 90 หูตึงขั้นรุนแรง เมื่อตะโกนก็ยังไม่ได้ยิน
91 ขึ้นไป หูหนวก ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงก็ไม่ได้ยิน

การรักษาปัญหาหูอื้อ หูตึงให้หายขาด

การรักษาปัญหาหูอื้อ หูตึงให้หายขาด

ปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึง รักษาหายขาดได้ไหม? ต้องบอกก่อนว่าปัจจุบันไม่มียารักษาภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู ปัญหาการได้ยินที่เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัย มักจะรักษาไม่หายขาด

ซึ่งการรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุนั้น จะรักษาตามสาเหตุ ถ้าเกิดจากประสาทรับเสียงเสื่อม ควรหาสาเหตุ หรือปัจจัยที่จะทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมและป้องกันไม่ให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงเสียงดัง หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และพยายามควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคไต ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ในกรณีที่อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งช่วยทำหน้าที่เสมือนเครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยใส่ไว้ในช่องหู สามารถถอดเก็บได้ ในกรณีหูตึงขั้นรุนแรงหรือหูหนวก แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ในกระดูกก้นหอยที่อยู่ในบริเวณหูชั้นใน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินไม่ว่าจะเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย หรือ มีสาเหตุจากโรคที่อันตราย เช่น เนื้องอกของสมอง หรือเส้นประสาท ซึ่งปัญหาการได้ยินดังกล่าว อาจหายได้ หรืออยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิตก็ได้

เรามักพบว่ามีผู้สูงอายุหลาย ๆ คนปลีกตัวจากสังคม หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูง เพราะการพบปะในที่ที่มีคนมากจะทำให้ปัญหาการสื่อสารทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูตึงในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย และพิสูจน์แล้วจากงานวิจัยในหลายประเทศทั่วโลกว่า ทำให้ท่านผู้สูงอายุมีปัญหาซึมเศร้าและปัญหาทางสุขภาพจิต นี่เป็น วิธีดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกายใจ 

ซ้ำร้ายการที่สมองขาดการกระตุ้นจากเสียงที่เข้ามานั้น นำไปสู่ความเสี่ยงที่มากขึ้นของการทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ จากการได้รับการตรวจระดับการได้ยิน และช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูและการได้ยิน เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้นไป ดังนั้น อย่านิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กระดับการได้ยิน หาสาเหตุและการป้องกัน ดูแลไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น


อ้างอิง