Tag

สังคมผู้สูงอายุ

Browsing

สังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมที่เน้นคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านสุขภาพ การเกษียณอายุ ที่พักอาศัยที่มีความเหมาะสม และการพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอย่างมั่นคงและมีคุณภาพได้ตลอดชีวิต เนื่องจากปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสังคมต้องการให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนในสังคม


สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านโครงสร้างอายุของประชากร ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง Aging Society หรือ สังคมผู้สูงอายุ คืออะไรนั้น อ้างอิงจากคำจำกัดความขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN World Population Ageing) ได้นิยามคำว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึง กลุ่มของประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งได้แบ่งระดับของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 

  1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
  3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติสรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 (2005) โดยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี 2567-2568 (2024-2025) สรุปได้ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับ Aging Society เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2548 แล้วกำลังที่จะเขยิบขึ้นไปสู่สังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไม่เกินปี 2567 แน่นอน เราควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้และอนาคตอันใกล้อย่างเข้าใจและควรปรับตัว เรียนรู้ให้ได้เท่าทัน

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยในประเทศ เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากทำให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจจุบัน เราจะเป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต


เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไรนั้น ต้องสร้างขึ้นทั้งกายและใจ 

การเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย โดยค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้สูงอายุในประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รายได้ การพัฒนาศักยภาพรวมถึงเรื่องราวของโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการจัดการกับปัญหาเพื่อหาทางออกสำหรับผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าเป็น “เคล็ดลับ” อายุยืนให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น 

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านร่างกายก็เป็นผลมาจากเรื่องง่ายๆ อย่างการเคลื่อน ไหวร่างกายหรือออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เชื่อมั้ยว่า แค่เราขยับร่างกายวันละไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ก็อาจจะช่วยต่ออายุคุณให้ยืนยาวไปอีกหลายปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ถ้าไม่อยากป่วย จงลุกขึ้นมา

ผู้ที่อายุมากขึ้นและอยู่ในอาการเฉื่อยชา ควรหันมาเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้าร่วม โปรแกรมใด ๆ ก่อนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ไปดูคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกายกันเลย

ขั้นแรกเริ่มด้วยการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งมีความหนักในระดับปานกลาง เพราะการเลือกกิจกรรมที่เราชอบ จะทำให้เราอดทนออกกำลังได้นานขึ้น จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการออกกำลังทีละน้อยทุก ๆ 2-3 วัน จนกระทั่งออกกำลังได้นานต่อเนื่องครั้งละ 30 นาที โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป

เมื่อใช้เวลาออกกำลังครั้งละ 30 นาทีจนอยู่ตัวแล้ว ให้ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นอีก หรือเพิ่มความหนักหน่วงของกิจกรรม หรือทั้งสองอย่างเลยก็ได้ ต่อมาให้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และได้รับประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

2. ออกกำลังกายไล่ความเจ็บป่วย

ผู้ที่ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงและกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม้อายุจะมากขึ้น เรื่องนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดแห่งโบลเดอร์ สหรัฐฯ พบว่า การลดลงของแอนติบอดี อันเนื่องมาจากอายุ เป็นสัญญาณว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยลง แต่การออกกำลังกายจะช่วยคงสภาพการตอบสนองของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (T-Cell) อย่างเหมาะสม

ดังนั้น การออกกำลังกายจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป เพราะคนในวัยนี้มักมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันได้ง่าย และยังเป็นแนวทางการป้องกัน โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

3. ร่างกายสมบูรณ์ สมองก็ฟิต

ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายกระฉับกระเฉงจะมี สมาธิดี อาจช่วยรักษาความจำและต่อสู้กับภาวะความจำเสื่อมได้ จากการศึกษาของนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไฟน์เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น พบว่า วิถีชีวิตแบบทำงานนั่งโต๊ะ มีผลเสียโดยตรงต่อความสามารถทางปัญญาและคุณภาพการนอนหลับเมื่อเราอายุมากขึ้น

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยให้ชายและหญิงอายุ 67-86 ปี ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี เข้าร่วมการศึกษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ตามข้อกำหนด โดยให้พวกเขาออกกำลังกายเบาๆ นาน 30 นาที ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 30 นาที และปิดท้ายด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลางอีก 30 นาที

ในแต่ละครั้งจะเริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกาย เช่น เหยียดแขน ขา และออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง (เดินหรือออกกำลังร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง) ในช่วงสุดท้ายให้ออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง ได้แก่ การเดินเร็ว กายบริหาร หรือเต้นรำ และทำให้ร่างกายเย็นลง 10 นาที โดยทั้งหมดนี้ครอบคลุมระยะเวลา 90 นาที

เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมอง และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น หลับลึกขึ้น และตื่นระหว่างคืนน้อยลงถึงร้อยละ 4-6

4. อายุไม่ใช่ข้ออ้างอีกต่อไป

การศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชายและหญิงอายุระหว่าง 50-60 ปี อยากมีร่างกาย ที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะหรือมีอุปนิสัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือสูบบุหรี่

โดยนักวิจัยได้เฝ้าติดตามผู้สูงอายุจำนวน 9,611 ราย พบว่า ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี และยังมีความกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตใน 8 ปีข้างหน้า น้อยกว่าผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะร้อยละ 35 ซึ่งความเสี่ยงที่ลดลงนั้น พบในผู้เข้าร่วมทำการศึกษาที่ออกกำลังกายระดับปานกลางทั่ว ๆ ไป เช่น เดินเล่น ทำสวน และเต้นรำ แม้แต่คนอ้วนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตน้อยลง หากรู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ


การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

นอกจากการดูแลร่างกายแล้ว เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านจิตใจนั้นใช้หลักจิตวิทยาพร้อมเทคนิคง่าย ๆ ในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง และสร้างกำลังใจให้สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้อย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รู้จักธรรมชาติตนเอง

ถ้ารู้ว่าเวลาที่ตัวเองหิวจัด จะหยิบอาหารที่ใกล้ตัวเข้าปากทันที ก็ต้องรู้จักวางแผนให้ดี วางระบบให้ร่างกายด้วยการเลือกและเตรียมอาหารล่วงหน้า อย่ารอให้หิวก่อน เพราะเมื่อหิว เรามักจะมีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจน้อยลง แนะนำ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ต้องกินแบบไหนถึงดีต่อร่างกาย

2. คำพูดสร้างพลัง

หาคำพูดที่จะช่วยดึงสติให้เราเอาชนะใจตัวเองได้ เช่น สำหรับคนที่กำลังคุมน้ำหนัก เมื่อเห็นอาหารมากมายตรงหน้า ลองถามตัวเองว่า “คุ้มไหม” เพื่อเตือนสติ ป้องกันไม่ให้เผลอกินอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

3. หมั่นหาความรู้

พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ หรือ วิธีการออกกำลังกายที่หลากหลายมากขึ้น

4. รู้จักผ่อนคลาย

ไม่ให้อยู่ในสภาวะกดดัน หรือตึงเครียดจนเกินไป ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียด ไม่จมอยู่กับปัญหา และฝึกปล่อยวาง เทคนิคง่าย ๆ คือการยิ้มให้ตัวเองตอนเช้า เพื่อสร้างอารมณ์ที่ดีรับวันใหม่อย่างแจ่มใส การผ่อนคลายโดยการให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ ยังมีวิธีการจัดการอารมณ์เบื้องต้นที่ง่ายที่สุดคือ การฝึกหายใจให้ยาวและการออกกำลังกาย แต่ถ้าไม่มีเวลา สามารถฝึกหายใจง่าย ๆ ได้ ก่อนและหลังการนอน ช่วงละ 20 ครั้ง

5. มองหาความสุขอย่างง่าย ๆ

คนส่วนใหญ่มักคิดและมองหาความสำเร็จในหน้าที่การงานว่าสามารถทำให้เกิดความสุข จนลืมมองความสุขใกล้ตัวซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เช่น ความสุขจากการพูดคุยกับคนในบ้านระหว่างการกินมื้อเย็นร่วมกัน และเมื่อเรามีต้นทุนความสุขดี ๆ การที่เราจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องอื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้น

 

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจสำหรับผู้สูงอาย เป็นวิธีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในกายและใจของผู้สูงอาย เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ได้อย่างมีคุณภาพ วิธีการเหล่านี้สามารถทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกิจกรรมที่ชอบ การพูดคุยกับเพื่อนฝูง และการอ่านหนังสือหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ นอกจากนี้ ยังสามารถเรียนรู้เทคนิคการจัดการอารมณ์และการสร้างกำลังใจจากสิ่งอื่น ๆ ได้เช่นกัน


อ้างอิง

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การออกกำลังกายสามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มศักยภาพร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด ต้องจำไว้ว่าการที่ ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย กิจกรรมที่ทำควรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และความสามารถของผู้สูงอายุเอง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บด้วย


ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ควรระวังและคำนึงถึงอะไรบ้าง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก เนื่องจากเป็นวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าวัยอื่น การทรงตัวอาจทำได้ไม่ดีเท่ากับวัยอื่น และที่สำคัญผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายโดยตรง ดังนั้น เวลา ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย จึงควรระวัง และคำนึงถึงขีดจำกัดในเรื่องต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น การบาดเจ็บบริเวณกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยข้อควรระวังและควรคำนึงถึง ได้แก่

  1. ควรตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย
  2. หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะท่าที่ทำให้ต้องกลั้นหายใจ
  3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการปะทะ การแข่งขัน เพราะอาจเกิดอันตราย
  4. ควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพราะเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงทำให้การออกแรงมาก ๆ เป็นเรื่องยากและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้
  5. เลือกสวมรองเท้าออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  6. ควรมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวร่วมออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 คน
  7. เลือกกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดความเครียด
  8. เลือกกิจกรรมที่ทำติดต่อกันได้ 10-15 นาที

ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายอย่างไรจึงพอเหมาะพอดี ไม่เกิดการบาดเจ็บ

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องนานประมาณ 30-45 นาที แต่ควรเริ่มต้นด้วยเวลาน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาการออกกำลัง โดยอาจจะเลือก กิจกรรมแบบแอโรบิค 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมออกกำลังกายไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน

ที่สำคัญก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง ประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ คูลดาวน์ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้


ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง 

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ การเพิ่มการไหลเวียนโลหิต/เพิ่มการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (แอโรบิค), การเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อส่วนต่าง ๆ เป็นการออกกำลังกายฝืนแรงต้าน, การเหยียดยืดข้อต่อส่วนต่าง ๆ ป้องกันอาการข้อยืดติด และการฝึกการทรงตัว โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่

ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

1. การเดินหรือวิ่งช้า ๆ

ผู้สูงอายุควรเริ่มออกกำลังกายจากเบาไปหนัก โดยเริ่มจากการเดินช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพสักระยะหนึ่ง จนร่างกายเคยชินกับการเดินแล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น เป็นการเดินเร็วหรือการวิ่ง สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าหรือข้อเท้าก็ไม่ควรวิ่ง เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น

การเดินหรือวิ่งสามารถทำได้ที่สนามหรือสวนสุขภาพ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง มีพื้นผิวที่เรียบเพื่อไม่ให้สะดุดล้ม นอกจากนี้ ควรเลือกสวมรองเท้าผ้าใบที่กระชับ เพื่อรักษาข้อต่อต่าง ๆ ไม่ให้ได้รับแรงกระแทกมากเกินไป

2. กายบริหาร

ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายที่บ้าน โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกสัดส่วน พร้อมทั้งฝึกความอดทน การทรงตัว และความยืดหยุ่นของร่างกาย ซึ่งกายบริหารมีหลายท่าให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น เหยียดน่อง เขย่งปลายเท้า ย่อเข่า โยกลำตัว เป็นต้น

3. ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ

 

การออกกำลังกายในน้ำสำหรับผู้สูงอายุ เหมาะกับผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม เพราะการว่ายน้ำช่วยลดแรงกระแทกโดยตรงกับพื้นแข็ง ช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกาย และฝึกการหายใจอย่างเป็นระบบได้ สำหรับผู้สูงอายุที่ว่ายน้ำไม่เป็น สามารถออกกำลังกายได้ โดยการเดินในน้ำไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงมากขึ้น

4. ขี่จักรยาน

การขี่จักรยานเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรง เนื่องจากต้องควบคุมจักรยานและออกแรงมากกว่าปกติ การขี่จักรยานช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการขี่ไปยังสถานที่ต่าง ๆ และเหมาะกับการไปเป็นหมู่คณะ

5. รำมวยจีน

รำมวยจีนเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ที่ให้ทั้งความอดทน ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากทางด้านทางกายแล้วยังช่วยในการฝึกจิตใจ และการหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ  การรำมวยจีนทำให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมมากขึ้น เนื่องจากจะได้มาร่วมออกกำลังกายกันเป็นกลุ่ม และช่วยสร้าง สังคมผู้สูงอายุ ที่มีความชอบในการดูแลตัวเองอีกด้วย

6. โยคะ

โยคะเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ที่ปฏิบัติมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่การออกกำลังกายด้วยโยคะจะต้องมีการฝึกฝนอย่างถูกวิธีถึงจะได้ผลดีต่อร่างกาย


สรุป

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุให้ได้ผลดีนั้น จะต้องส่งผลต่อระบบร่างกาย จิตใจให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงและลดโอกาสของการเจ็บป่วยได้มากขึ้น โดยจะขึ้นอยู่กับความถี่ในการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเคยชินและไม่ได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีวิธีการดูแลตัวเองอย่าง ผู้สูงอายุควรกินอาหารแบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพร่างกาย

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายตามความเหมาะสมของตนเอง ไม่หักโหมจนเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแล้วจะช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม กรณีออกกำลังกายนอกบ้าน จึงเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจโดยตรง ดังนั้น ตัวผู้สูงอายุเอง ควรให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย หรือผู้ดูแลควรให้ความสำคัญ และสนับสนุนผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายด้วย 


อ้างอิง