Author

Porntipa Budpong

Browsing

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไรไม่ให้น้ำตาลขึ้น

สำหรับผู้สูงอายุ โรคภัยไข้เจ็บ ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง หรือ แม้กระทั่งอาการเจ็บป่วยที่เข้ามารบกวนการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างไม่ขาดสาย แน่นอนเลยว่าการรับมือของแต่ละอาการก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับโรคที่ค่อนข้างจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเลยนั่นก็คือ “ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ” เพราะว่าเมื่ออาการแทรกซ้อน จะค่อนข้างอันตราย

อีกทั้งภาวะ “น้ำตาลขึ้น” จะเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลจะต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะนี่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแตกต่างมากสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อย สำหรับวันนี้แน่นอนว่าพวกเราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาพูดถึงกันในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น อาการของโรคนี้ในผู้สูงอายุ วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงการหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคอลลาเจน และ วิธีการออกกำลังในแบบผู้สูงอายุด้วย ต้องบอกเลยว่ามีหลายวิธีให้กับผู้ป่วยได้เลือก นี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่คุณจะต้องรู้เพื่อหาข้อมูลเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้


อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

ความน่ากลัวของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเฝ้าระวังกันเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยทางด้านการรับประทานอาหารที่สะสมน้ำตาลมาเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมา ไม่ได้สนใจเรื่องอาหาร สุขภาพ การออกกำลังกาย ทำให้โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่ทุกคนก็เป็นกันได้ง่าย ๆ โดยอาการเริ่มแรกของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะสามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1. ระยะแรก ยังไม่เห็นอาการแน่ชัด

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในระยะแรกนั้นมักจะยังไม่พบอาการ เพราะว่าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการยังไม่เด่นแน่ชัด แต่มักจะมีอาการรับประทานเก่ง ขึ้น หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ถ้าหากว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน น้ำหนักของตัวเองจะลดลงแบบเฉียบพลัน

2. ระยะมีภาวะแทรกซ้อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ในแบบที่มีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย จะค่อนข้างอันตราย เพราะว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น ตามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า รวมทั้งเกิดโรคต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง  ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกเวลา เพราะเกี่ยวข้องกับหัวใจ และ สมอง 

3. อาการเฉียบพลัน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ มักจะพบอาการเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น อาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ หายใจหอบ มีความรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไป  มีอาการซึม หมดสติ โดยทั้งหมดที่กล่าวมา คืออาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลันนั่นเอง ซึ่งในผู้สูงอายุมักพบบ่อยในกรณีที่ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่กำหนด 


ผลกระทบของโรคเบาหวาน

สำหรับหัวข้อนี้จะขอพูดถึง เรื่องผลกระทบของโรคเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ด้วยตัวของโรคเบาหวานนั้น จะเป็น โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมทั้งพบมากถึงร้อยละ 20 ในจำนวนคนไทย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่อายุยังน้อยก็เพราะว่า เมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิต ฮอร์โมนอินสุลิน ที่ใช้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การที่อายุมากขึ้น ยังอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลินด้วย 

โดยโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลัน กรณีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนอีกหนึ่งกรณีก็คือ ผลกระทบเรื้อรัง จะพบได้ในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เป็นระยะเวลานาน ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อ หลอดเลือดหัวใจ ไต ดวงตา ซึ่งจะพบได้บ่อยว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงมากในกรณีที่เป็นแผล เพราะหายยาก บางรายถึงขั้นต้องยอมเสียอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต แน่นอนเลยว่าด้วยอาการ และ สาเหตุทั้งหมด ผู้สูงอายุจำเป็นมากที่จะต้องมีวิธีดูแล รวมทั้งแผนการรักษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี 


วิธีดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

การดูแลสุขภาพของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ค่อนข้างเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้สูงอายุ ที่จะต้องเจ็บป่วย เพราะบางคนก็ดื้อไม่ยอมทำการรักษา หรือ ทำตามในขั้นตอนวิธีการรักษาที่ถูกต้อง สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเกิดกับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่จะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก ทั้งตัวของผู้ป่วยเอง รวมทั้งผู้ที่ทำการดูแลด้วย ซึ่งจะต้องมีวิธีการดูแล เป็นขั้นตอน และ เรื่องที่ผู้ป่วยต้องพึงระวัง มีดังต่อไปนี้ 

1. วางแผนการรักษา 

ขั้นตอนแรก เมื่อทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือ มีภาวะที่จะต้องเกี่ยวข้องกับโรคนี้ จะต้องวางแผนการรักษาเลยว่าคุณเองป่วยอยู่ในระดับไหน ซึ่งเรื่องนี้ทั้งผู้ดูแล ญาติ รวมทั้งผู้ป่วย จะต้องร่วมกันวางแผนการรักษาร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกโรงพยาบาลที่จะทำการรักษา อีกทั้งข้อมูลของโรคเบาหวานที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทั้งเรื่องของค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งจะต้องช่วยกันควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด

2. รับประทานอาหาร

การรับประทานอาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งเกิดในภาวะของผู้สูงอายุ ย่อมที่จะต้องเคร่งครัดในเรื่องเกี่ยวกับอาหารให้มากด้วยเช่นเดียวกัน ควรงดของหวานที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เพราะว่าจะเกิดผลกระทบต่อหัวใจ หลอดเลือด และ สมอง ยิ่งไปกว่านั้นอาหารบางชนิด ยังไปกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว หรือ โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วยเช่นกัน 

3. ป้องกันไม่ให้ภาวะน้ำตาลต่ำ

สำหรับภาวะน้ำตาลต่ำ ต้องทำความเข้าก่อนว่า ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่ให้สูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไป แต่ในภาวะนี้อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะน้ำตาลต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร 

4. ควบคุมโรคอื่นให้ดี

สำหรับวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในวัยสูงอายุนั้น จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีแล้ว ต้องควบคุมโรคอื่นที่เป็นให้ดีด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบางรายเป็นความดันโลหิตสูงด้วย เป็นโรคไขมันสูงด้วย ก็จะต้องควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจุดที่แย่ที่สุดอาจจะทำให้หัวใจวาย หรือ หลอดเลือดในสมองแตกได้นั่นเอง 

ดังนั้น วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ครอบครัว คนรอบข้าง จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ให้ได้ถ่องแท้ เพราะว่าเป็นโรคที่แตกต่างกับผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งการติดตามผล การดูแลอย่างใกล้ชิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เลี่ยงอาหารรสหวาน เลือกอาหารที่มีกากใย ไขมันต่อ มีการออกกำลังกาย พร้อมทั้ง รับประทานอาหารเสริม อยู่เสมอ ลดความเครียด รวมทั้งสิ่งที่ทำร้ายร่างกายต่าง ๆ โดยเรื่องเหล่านี้ถ้าหากว่าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้ อีกทั้งคุณภาพชีวิตที่จะดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “คอลลาเจน” เป็นสารสกัดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือดได้ 


คอลลาเจนช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือไม่

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะว่าโฆษณาของทาง อาหารเสริมอย่างคอลลาเจน ได้มีการพูดถึงเรื่อง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแน่นอนเลยว่าเมื่อได้ยินแบบนี้ ผู้ป่วยเบาหวานก็พอที่จะมีช่องทางในการควบคุมระดับน้ำตาลในแบบฉบับของตัวเอง แน่นอนเลยว่ายังได้รับการเสริมสร้างคอลลาเจนภายในร่างกายด้วย สำหรับหัวข้อต่อไปนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวของ “คอลลาเจน” กับ “ผู้ป่วยเบาหวาน” ที่สามารถช่วยได้ แล้วยังมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิดด้วย


คอลลาเจน ทานเสริมได้ ช่วยได้เยอะ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เรื่องรับประทานอาหารจะค่อนข้างที่ต้องเคร่งครัดเป็นอย่างมาซึ่งอาจจะทำให้เป็นกังวลเกี่ยวกับ การขาดสารอาหาร หรือ ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อวัน อย่างไรก็ตามเราต้องขอพูดถึงก่อนเลยว่า คอลลาเจน กับ โรคเบาหวานนั้น เกี่ยวข้องกันได้ เพราะผู้ป่วยเบาหวาน จะมีจำนวนคอลลาเจนที่ลดลง เพราะว่าผิวหนังจะมีรอยช้ำได้ง่าย อีกทั้งเมื่อเป็นแผล ก็จะหายช้า นี่ก็คือเหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวาน จะย่อยสลายคอลลาเจนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีอยู่ภายในร่างกายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะเบาหวานในวัยเดียวกัน 

อีกหนึ่งอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกมาทางผิวหนัง นั่นก็คือ ผิวหนังของผู้ป่วยเบาหวาน จะแตกง่าย เกิดการลอกเป็นขุย แห้ง กลายเป็นแผลได้ง่าย หรือมี อาการท้องผูก โดยจะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีด้วย ดังนั้น นี่แหละจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นมากที่จะต้องเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างเร่งด่วน


ผู้ป่วยเบาหวาน เลือกทานคอลลาเจนอย่างไร ? 

ความปลอดภัยของการรับประทานคอลลาเจน ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มั่นใจว่า คอลลาเจนสามารถรับประทานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย แต่สิ่งที่จะต้องระวังในตัวของอาหารเสริมอย่างคอลลาเจนนั้น ต้องระวังระดับน้ำตาลที่อาจจะมีมากเกินไป จนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ มากกว่าการช่วยเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกาย 

สำหรับอาหารเสริมประเภทอื่น มักจะมีส่วนผสมของสารสกัดอื่น ๆ ผสมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น วิตามินซี สารสกัดจากผลไม้ พร้อมทั้งปรุงแต่งน้ำตาล เพื่อเพิ่มรสชาติที่อร่อย ทานง่าย ซึ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่ได้ระวังเรื่องนี้ก็ค่อนข้างที่จะเป็นอันตรายทั้งระยะสั้น และระยะยาวได้เช่นเดียวกัน 


คอลลาเจน มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับคอลลาเจน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาว ที่จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอไป อีกทั้งส่วนของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เมื่อผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานคอลลาเจนเข้าไปแล้วนั้น ก็จะช่วยซ่อมแซมผิวหนัง แผลเป็น พร้อมทั้งรอยเหี่ยวแห้งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยคอลลาเจน จัดเป็นโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งต่อร่างกาย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานแล้ว คอลลาเจน ก็ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย 

เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ทุกอย่างของคอลลาเจน จะเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ซ่อมแซม เสริมสร้าง หรือ ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงเป็นอาหารเสริมอีกหนึ่งประเภท ที่ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ ปลอดภัย แต่ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อยที่ผู้ป่วยเองจะต้องเฝ้าระวัง เพราะบางแบรนด์ก็จะมีส่วนผสมของน้ำตาลด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยทุกคน ก็จะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายนั้นทำงานได้เป็นปกติ พร้อมกับสุขภาพดีอย่างยั่งยืน


วิธีออกกำลังกายในผู้สูงอายุแบบง่ายๆ

อีกหนึ่งกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่จำเป็นเลยว่าจะต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ นั่นก็คือ “การออกกำลังกาย” ซึ่งการออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ทุกเพศ ทุกช่วงอายุ ส่วนความหนักเบา ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงวัยของแต่ละคนนั่นเอง

สำหรับวัยรุ่นก็อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีขั้นตอน ความหนัก ความเบาได้ทุกรูปแบบ เพราะร่างกายยังคงแข็งแรง แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้ว จะให้ไปเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกายแบบหนัก ๆ ก็คงไม่ไหว วันนี้พวกเราจึงได้รวบรวม 7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถทำง่าย เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ขอแนะนำเลยว่า จะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

1. วาดมือขึ้น เท้าแตะข้าง

เริ่มต้นกันด้วยท่าที่ได้ประโยชน์เยอะ ทำง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุ ยิ่งไปกว่านั้นใครที่เข่าไม่ดี น้ำหนักตัวเยอะ ก็สามารถที่จะออกกำลังกายท่านี้ผู้สูงอายุ สามารถทำได้ไม่ยาก โดยแขนทั้ง  2 ข้าง ขึ้นด้านบน แล้วแตะกันที่ระหว่างศีรษะ พร้อมกับยกขาออกไปแตะด้านข้าง ทำสลับกันซ้าย กับ ขวา ท่านี้จะช่วยบริหารแขน พร้อมกับ ขา สำหรับท่านี้จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เพราะได้ขยับตัวในจังหวะที่เร็วขึ้นนั่นเอง 

วิธีการทำท่านี้

อันดับแรกจะต้องยืนให้ตรง กางขาออกเล็กน้อย จากนั้นก็ออกแรงยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ในช่วงระหว่างยกมือขึ้นให้เตะขาซ้ายออกไปด้านข้าง ในส่วนของปลายเท้าแตะพื้น พร้อมกับลดมือลง พร้อมกับดึงขากลับมาสู่ท่าเริ่มต้น จากนั้นก็สลับข้างกันไปตามต้องการ 


2. ท่าย่ำเท้าอยู่กับที่ 

สำหรับท่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ สำหรับผู้สูงอายุ เป็นการทำท่าเต้นออกกำลังกายเบา ๆ ในทุกวัน ซึ่งใช้เป็นท่าเริ่มต้น หรือ ท่าคูลดาวน์ อบอุ่นร่างกายให้พร้อมสำหรับการเต้นออกกำลังกายในท่าต่อไปก็ทำได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ท่านี้ยังช่วยให้กล้ามเนื้อขาได้ออกแรง ดีต่อข้อเข่าของผู้สูงอายุ เพราะว่าไม่มีแรงกระแทกที่ลงไปทางข้อเข่า

วิธีการทำท่านี้

สำหรับท่านี้ทำง่ายมาก เพียงยืนตรง ยกมือแล้วเท้าเอวไว้ ต่อมาย่ำเท้าสลับซ้าย-ขวา ต่อเนื่องกันไปประมาณ 1-2 นาที 


3. หุบศอก กางศอก

ท่าที่ 3 ขอแนะนำการออกกำลังกายเบา ๆ ที่จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อในส่วนบน ที่ง่ายมาก เป็นท่ากางศอก หุบ ศอก ที่เหมาะกับการออกกำลังกายทุกวัน ช่วยในส่วนของไหล่ แขน กล้ามเนื้อยืดหยุ่นขึ้น จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ทุกวัน ทุกช่วงกิจกรรมของการออกกำลังกาย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยืนตรง จากนั้นให้ยกแขนตั้งฉากกับลำตัว ตั้งข้อศอกงอ จากนั้นก็หุบศอกเข้าหากัน รวมทั้งกางออก ค่อย ๆ ทำอย่างช้า ๆ ตามเพลง หรือ ตามที่ต้อการ


4. ท่าโบกแท็กซี่ 

สำหรับท่านี้เป็นท่าที่เพิ่มความกระฉับกระเฉง ให้กับผู้สูงอายุ เป็นท่าที่น่าสนใจมาก เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้นด้วย นับได้ว่าเป็นข้อดี เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เครียดไปกับการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยกมือขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้นก็โบกไปมาตามจังหวะของเพลง ซึ่งสามารถโบกตามความสนุกสนาน หรือ ตามที่ต้องการของผู้ออกกำลังกายได้เลย


5. เท้าเอว หมุนไหล่

ต่อมาขอแนะนำท่านี้ ถือได้ว่าเป็นท่าหมุนเอวไหล่ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ ได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะว่าได้ออกกำลังกายส่วนของต้นแขน ไหล่ ซึ่งจะช่วยให้ข้อต่อของผู้สูงอายุ ยืดหยุ่น ลดความตึงเครียด รวมทั้งความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีด้วย 

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยท่ายืนตรง แล้วแยกขาออก ใช้มือทั้งสองข้าง พร้อมกับ หมุนไหล่ไปทางด้านหน้าเบา ๆ จากนั้นก็หมุนกลับไปด้านหลัง ท่านี้จะช่วยบริหารส่วนหัวไหล่ คลายปวดเมื่อย เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ 


6. ท่าแกว่งแขน 

ท่าพื้นฐานที่ทุกคนรู้จักดี ท่าแกว่งแขวน เป็นท่าที่ผู้สูงอายุทำง่าย เป็นท่าสำหรับการออกกำลังกายเบา ๆ เป็นการเปิดจุดให้เลือดลมไหลเวียนดี เคล็ดลับของท่านี้คือจะต้องทำเบา ๆ ในช่วงเริ่มต้น แล้วค่อยเพิ่มไปแรงได้ เป็นท่าสบาย ๆ กับ กิจกรรมวันเบา ๆ 


7. บริหารลำตัว

สำหรับท่านี้ จะช่วยให้ร่างกายมีการบริหารแขน หลัง ไหล่ รวมทั้งช่วงลำตัวด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมมากขึ้น ช่วยให้เดินเหินสะดวก รู้สึกสดชื่น

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยการยืนตรง ยกมือเท้าเอว จากนั้นก็บิดลำตัวไปทางซ้ายช้า ๆ ก่อนที่จะบิดกลับมาทางขวา ทำแบบนี้สลับกันไป เซ็ตละ 15 ครั้ง 


สำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำเป็นมากที่ต้องใช้ท่าที่ทำง่าย สะดวก ไม่หนักจนเกินไป เพราะว่าผู้สูงอายุ ไม่ได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงเหมือนวัยรุ่น หรือวัยเด็ก ดังนั้น การเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ คือ การหันมาใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น จะต้องมีการตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับอาการเจ็บปวด ใส่ใจในการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเช่นเดียวกัน โรคเบาหวาน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรัง ที่ทั้งผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ทุกช่วงวัย สามารถเป็นได้ แต่ที่ค่อนข้างอันตรายก็คือในวัยผู้สูงอายุ เพราะโรคแทรกซ้อนเพียงช่วงเวลาเดียวก็สามารถทำให้ มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นแล้ว การสังเกตอาการของโรค การทำความเข้าใจกับโรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ การมองหาทางเลือกเสริมอย่างคอลลาเจน ที่ช่วยให้อาการเบาหวาน หรือ ลดน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ มีร่างกายที่แข็งแรง ลดความเครียด ลดซึมเศร้า เชื่อเลยว่าข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้จะเป็นเรื่องราวสาระดี ๆ ให้กับคนที่กำลังหาทางออกเกี่ยวกับ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ นั่นเอง


อ้างอิง

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ กินอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์

เมื่ออายุมากขึ้น การถดถอยของร่างกายก็ตามมา ตามวัย ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะถามหาตามมา ไม่ว่าจะเป็น อาการเจ็บป่วยทั่วไป ปวดเมื่อตามร่างกาย หรือ โรคเรื้อรังที่เริ่มจะมีสัญญาณบอกแล้วว่าร่างกายเริ่มที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ แต่ในปัจจุบันยังมีวิธีที่ช่วยชะลอความแก่อย่างสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย โดยที่เห็นชัดง่าย ๆ ก็คือ คอลลาเจน หรือ ดีท็อกซ์ล้างสารพิษ รวมไปถึงอาหารเสริมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการดูแลร่างกายไปอีกหนึ่งทาง แต่ทว่าวันนี้พวกเราจะขอพูดถึงอีกหนึ่งอาหารเสริมอย่าง “น้ำมันปลา” ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายบรรเทาอาการอักเสบ รวมทั้ง ช่วยให้ร่างกายดีขึ้น โดยสามารถตอบโจทย์ได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะประโยชน์ของน้ำมันปลานั้นมีมากกว่าที่คิด วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ น้ำมันปลาผู้สูงอายุ ให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งประโยชน์ที่แท้จริง อีกทั้งคำตอบสำหรับผู้สูงอายุว่าจะกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้ 


น้ำมันปลาคืออะไร

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

ถ้าจะพูดถึงเรื่องราวของน้ำมันปลา ก็คงพูดถึงจุดเด่นได้ว่า มีสรรพคุณมากมาย ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งนี่เป็นจุดเด่น แต่ที่จริงแล้วยังมีประโยชน์อีกมากมายโดยที่คุณเองอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ

ก่อนอื่นเลยต้องขอพาทุกท่านไปรู้จัก น้ำมันปลา กันก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเจ้าสารสกัดชนิดนี้นั้น จะเป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของปลา ตัวอย่างเช่น เนื้อปลา หัวปลา หางปลา รวมทั้ง หนังของปลา ซึ่งปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นจะเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น โดยจะมีกรดไขมัน Omega-3  มากกว่าปลาน้ำจืด ตัวอย่างเช่น ปลาแองโชวี่ กับ ปลาแมคเคอเรล รวมไปถึงปลาทูน่า ที่อยู่ในกลุ่มที่มี โอเมก้า 3 สูงถึง 1-4 กรัม ต่อเนื้อปลา 100 กรัม 

สำหรับ “โอเมก้า 3” นั้นจะประกอบไปด้วยกรดไขมันสำคัญ นั่นก็คือ EPA กับ DHA โดยจากการวิจัยทางการแพทย์นั้น จะพบว่า น้ำมันปลาจะมีประโยชน์หลายด้านต่อร่างกาย


Omega-3 ดีต่อร่างกายอย่างไร 

โอเมก้า 3 นั้น จะมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมอง รวมไปถึงการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ เรตินาการมองเห็น รวมทั้งตับ กับ การทำงานในส่วนอื่นของร่างกาย โดยเฉพาะโภชนาการกับสุขภาพของคน ตัวอย่างเช่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล กับ ไตรเอธิลกลีเซอรอล ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน

โดยจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ กับ หน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงเป็นแนวโน้มที่ก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ รวมไปถึงโรคซึมเศร้าด้วย โดยกรดไขมันชนิดนี้มีประโยชน์มากซ่อนอยู่ในน้ำมันปลานั่นเอง


ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันปลา

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

น้ำมันปลา จะมีกรดไขมันอย่าง โอเมก้า 3 ซึ่งแน่นอนว่ามีประโยชน์ที่หลากหลาย ดังนั้นแล้วจะสรุปประโยชน์ของน้ำมันปลาที่มีต่อการบำรุงร่างกายได้ ดังต่อไปนี้ 

  • บำรุงสายตา 
  • บำรุงผิวหนัง
  • บำรุงกระดูก 
  • ลดการสะสมไขมันในตับ
  • บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า
  • บรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก
  • ช่วยเสริมสร้างสุขภาพครรภ์ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 
  • น้ำมันปลาให้วิตามิน เอ และ วิตามินดี ซึ่งมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กับ ผักต่าง ๆ ที่ขาดแคลนไปจากการไม่ได้ทานผัก หรือ เนื้อสัตว์ 

ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ทำให้น้ำมันปลา มีสรรคุณในการรักษา พร้อมกับ บรรเทาโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย


สรรพคุณของน้ำมันปลา 

สรรพคุณของน้ำมันปลานั้น มีหลากหลายด้านด้วยกัน โดยจะช่วยบรรเท่าโรคร้ายแรง ไปจนถึงโรคเรื้อรัง ซึ่งมีรายการสรรพคุณที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • บรรเทาอาหารไขข้ออักเสบ หรือรูมาตอยด์ จะช่วยลดอาการปวดข้อเข่า ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม หรือในผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาการปวดข้อ น้ำมันปลาก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ 
  • ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด จะช่วยป้องกันอาการโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว 
  • ประโยชน์ต่อระบบความดันโลหิต จะช่วยลดในเรื่องของความดันโลหิตสูง
  • ประโยชน์ต่อระบบหัวใจ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • ช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด 
  • ประโยชน์ต่อระบบประสาท และสมอง จะช่วยเพิ่มความจำไม่ให้ขี้ลืม ซึ่งในส่วนนี้เห็นผลว่าช่วยบำรุงสมองได้ดีขึ้น 

ประโยชน์ของน้ำมันปลา นั้นสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ รวมไปถึงวัยผู้สูงอายุ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำมันปลา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการรับประทานด้วย


ผู้สูงอายุกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้สูงวัยนั้น จะถูกพบว่า มีปัญหากับ ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากว่ามีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การเบื่ออาหาร หรือ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการไม่อยากเคี้ยวอาหารเพราะฟันไม่แข็งแรง หรือ ลิ้นที่รับรสชาติไม่ได้ดีเหมือนเคย จึงรู้สึกว่าทานอะไรก็ไม่มีความอร่อย รวมไปถึงฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ความอยากทานอาหารลดลง

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ถ้าหากว่าละเลยการดูแลในส่วนนี้ ก็ส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ อีกทั้งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ และโรคประจำตัวอาจจะกำเริบขึ้นมาได้ทุกเวลาด้วย 


น้ำมันปลาผู้สูงอายุ กินแล้วมีประโยชน์

สำหรับ “น้ำมันปลา” ถือได้ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญจากธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง การรับรู้ รวมทั้งความจำด้วย อีกทั้งยังสามารถรับประทานได้ทุกวัย ดังนั้นในวัยผู้สูงอายุ จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัส รวมทั้งอาการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งผลการวิจัยนั้นพบว่า น้ำมันปลา จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แน่นอนเลยว่านี่จึงเป็นสารอาหารที่ผู้สูงวัยควรจะได้รับ เพราะทานง่าย อีกทั้งมีสารอาหารที่ครบถ้วน

ด้วยคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของน้ำมันปลา ทำให้วงการแพทย์นั้นรับรองให้เลยว่า น้ำมันปลาเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม ตึงแน่นของข้อได้ดี อีกทั้งในยุคที่เต็มไปด้วยโรคระบาด กับเชื้อไวรัสที่อยู่รอบตัวแบบนี้ ภูมิคุ้มกันจะต้องแข็งแรง อีกทั้งการวิจัยที่ระบุเอาไว้ว่า สารอาหารที่สำคัญในน้ำมันปลานั้น จะช่วยลดความเสี่ยงโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้ด้วย เนื่องจากมีส่วนช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาว ให้กำจัดเนื้อเยื่อปอดที่อักเสบติดเชื้อ ทำให้การทำงานของปอดนั้นดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุแข็งแรงมากขึ้นด้วย


ผู้สูงวัย กับน้ำมันปลาที่ควรทาน

สำหรับการทานต่อวันนั้น ถ้าปกติจะแนะนำให้ทาน 500 มก. ต่อ วัน ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง จะต้องทานปริมาณกรดไขมันที่แนะนำ 1,000-2,000 มก. ต่อ วัน ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่อง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงนั้นจะขอแนะนำที่  2,000 – 4,000 มก./วัน


ข้อควรระวัง

สำหรับการทานน้ำมันปลานั้น จะมีข้อที่ควรระวัง เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง ดังนั้นถ้าหากว่าถอนฟันมา หรือ ผ่าตัดจะมีเลือดออกมาก ก็ควรที่จะแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้าว่า เราได้รับประทานน้ำมันปลา โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะสั่งให้หยุดทานก่อนรับการทำฟัน หรือ ผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับผู้ที่รับยาประจำตัวก็จะต้องแจ้งด้วยว่าทานน้ำมันปลา เพราะมียาบางตัวอาจจะได้รับผลกระทบกับร่างกาย 

อีกทั้งผู้ที่แพ้ปลาทะเล หรือ สารที่ใช้ในการผลิต โดยจะต้องสังเกตจากน้ำมันปลาแต่ละแบรนด์ ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่อย่าง แอสไพริน ก็ควรห้ามทาน สำหรับน้ำมันปลาก็มีเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วจะต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถี่ถ้วนก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ ถ้าหากว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคประจำตัว ว่าจะสามารถทานน้ำมันปลาได้หรือไม่ ควรที่จะปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อนที่จะรับประทานด้วย


น้ำมันปลา ป็นสารสกัดมากประโยชน์ ที่ช่วยตั้งแต่ระบบสมอง สายตา รวมทั้งความจำ ถือได้ว่าเป็นอาหารเสริมประเภทหนึ่งที่มีกรดไขมันดีอย่าง โอเมก้า 3 ซึ่งเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย รวมไปถึงผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ในปัจจัยต่าง ๆ ก็สามารถทานน้ำมันปลา เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนั้นได้

อีกทั้งความโดดเด่นของสารสกัดชนิดนี้ยังช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะมากสำหรับผู้สูงวัยที่มีอาการอักเสบจากอาการปวดข้อ หรือ โรครูมาตอยด์ สำหรับ น้ำมันตับปลานั้นจะมีราคาที่ไม่แพงมากนัก จะขึ้นอยู่กับว่าซื้อยี่ห้อไหน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดังอย่าง Blackmores, Nutrilite , Vistra เป็นต้น  มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 100 บาท ไปจนถึง หลักพันบาท ดังนั้น สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมดูแลคนที่คุณรักกันด้วย


อ้างอิง

ประโยชน์ของรังนก รักษาโรคและบำรุงสุขภาพผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่?

รังนก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารเสริมจากธรรมชาติยอดนิยม ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คนนิยมนำรังนกมาทานเป็นอาหารเสริมสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย สาเหตุก็เพราะว่ามีสรรพคุณทางการแพทย์ที่ช่วยบำรุงสุขภาพได้หลายด้าน วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับรังนกมากขึ้น โดยเฉพาะ ประโยชน์ของรังนก ที่จะมาไขข้อข้องใจว่า สามารถช่วยบำรุงสุขภาพ และรักษาโรคในกลุ่มผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่ จะเป็นอย่างไรบ้าง เราลองไปดูกันเลย


ทำความรู้จัก รังนกคืออะไร ?

ประโยชน์ของรังนก

รังนก (Edible bird’s nests) เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่ได้จากสร้างรังของนกนางแอ่น ที่พบได้ในถ้ำตามเกาะต่าง ๆ บริเวณริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ส่วนที่ถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริม ก็คือน้ำลายของนกนางแอ่น ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aerodramus fuciphagus มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายวุ้นสานกัน เป็นรังรูปครึ่งถ้วยยึดติดกับผนังถ้ำ


ประโยชน์ของรังนก มีอะไรบ้าง ?

ประโยชน์ของรังนก

รังนกที่ดีจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อาทิ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไกลโคโปรตีน กรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด และแร่ธาตุหลากหลาย โดยการรับประทานรังนกอย่างต่อเนื่อง ช่วยเสริมประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ได้แก่

  • มีโปรตีนสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณให้แข็งแรง แลดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
  • มี​​กรดไซอะลิค ช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินของเซลล์ผิวหนัง ลดปัญหาผิวหมองคล้ำ
  • ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งและป้องกันไวรัส กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเม็ดเลือดขาว และกระตุ้นการหลั่งสารภูมิต้านทานต่าง ๆ
  • เป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี นี่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระดูกและฟันที่แข็งแรง
  • เป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารที่สำคัญอื่น ๆ รวมทั้งโคลีนและสังกะสี
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย
  • เป็นแหล่งใยอาหารที่ดี ช่วยควบคุมกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้ลำไส้แข็งแรง ไม่ทำให้ ท้องผูก
  • บำรุง และช่วยเพิ่มการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงลดการอักเสบของระบบประสาท

ประโยชน์ของรังนก รักษาโรคได้จริงหรือไม่?

รังนกอาจเคยถูกใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่า รังนกสามารถรักษาโรคได้ ประโยชน์ที่อ้างว่าใช้รังนกเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ นั้น มีพื้นฐานมาจากคติชนวิทยาและประเพณี ไม่ใช่จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการอ้างว่ารังนกสามารถรักษาโรคใด ๆ ได้

ดังนั้น โดยสรุปแล้วหากถามว่ารังนกสามารถรักษาโรคได้จริงหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่สามารถช่วยรักษาโรคได้ แต่อย่างนั้นหากดูที่คุณประโยชน์ให้ดีก็จะเห็นได้ว่า รังนกมีสรรพคุณมากมายที่ช่วยในการบำรุงและเสริมภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้น การบริโภครังนกก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกอาหารเสริมที่ดี ในการช่วยป้องการเกิดโรคภัย รวมไปถึงบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ


วิธีเลือกกินรังนกอย่างไรให้ปลอดภัย ?

ประโยชน์ของรังนก

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอเห็นประโยชน์ของรังนกที่มีมากมายขนาดนี้ หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มรู้สึกอยากหาลองซื้อมารับประทานกันดูบ้างใช่มั้ยคะ เราเลยมีเคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกซื้อรังนกที่มีคุณภาพมาฝากกัน ไว้ให้ทุกท่านได้ลองไปปรับใช้ในการตัดสินใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคือรังนกแท้

อย่างที่เรากล่าวกันไปแล้วว่า รังนกนั้นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ต้องการในท้องตลาดจำนวนมาก สวนทางกับปริมาณการผลิตรังนกที่ได้จากธรรมชาติ ส่งผลให้รังนกมีราคาแพง จนเกิดพวกพ่อค้าหัวใสผลิตรังนกปลอมเลียนแบบรังนกแท้มาจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งวิธีการตรวจสอบว่าเป็นของแท้หรือไม่ ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า แต่จะต้องตรวจสอบในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น คุณจึงควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และมีใบรับรองรองรับ เพื่อป้องกันการถูกหลอก

2. เลือกรังนกที่เก็บครั้งแรกของปี

รังที่มีคุณภาพคือ รังที่เก็บครั้งแรกของปี รังแรกของนกนางแอ่นกินรังจะมีสีขาว แต่รังต่อไปมีสีค่อนไปทางเหลือง รังที่สามจะมีสีออกแดงเรื่อ ๆ ส่วนรังถัด ๆ ไปหลังจากนี้จะมีสีเข้มขึ้นจนกระทั่งเป็นสีแดง สาเหตุที่เริ่มมีสีก็เพราะมีสีสนิมของแร่เหล็กตามผนังถ้ำเจือปน รวมไปถึงมีคุณค่าทางอาหารที่ลดลงด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อรังนกที่เก็บครั้งแรกของปี หรือไม่เกินรังที่สามนั่นเอง

3. เลือกลักษณะรังที่มีสีขาวและขนาดใหญ่

สาเหตุก็เพราะรังนกมีสีขาวและขนาดใหญ่ มีสิ่งเจือปนน้อย อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด โดยขนาดของรังนกที่ดีมีคุณภาพคือ ควรมีน้ำหนักประมาณ 6-8 กรัม มีความลึก 2 นิ้วโดยประมาณ

4. รังนกจัดเก็บอยู่ในสภาพที่ดี

รังนกควรอยู่ในสภาพที่ดี และผ่านกระบวนการจัดเก็บที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่การ คัดแยกรัง ทำความสะอาด ทำให้แห้ง โดยลักษณะของรังนกสภาพที่ดีคือ ไม่มีสี หรือกลิ่นผิดปกติ ดูสะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอม ถูกจัดเก็บให้มีปริมาณความชื้น ไม่เกิน 15% ของน้ำหนัก ไม่มีวัตถุอื่น ๆ และสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเจือปน 


กล่าวได้ว่า แม้รังนกจะไม่ได้ช่วยรักษาโรคได้ แต่ก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและประโยชน์ที่มากมาย นอกจากนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นอกจากการเลือกรับประทานรังนกที่มีคุณภาพแล้ว การรับประทานอาหารที่หลากหลาย และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น หากคุณต้องการต้องการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคร้าย ก็อย่าลืมกินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วย


อ้างอิง

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ตาม ‘น้ำ’ ก็ยังถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกาย โดยเฉพาะยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น นอกจากการรับประทานอาหารที่ประโยชน์แล้ว การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุก็สำคัญไม่แพ้กัน มาดูกันว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันควรดื่มน้ำในปริมาณเท่าไหร่ หรือควรดื่มน้ำเพื่อสุขภาพอะไรบ้าง ?


การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำวันละกี่แก้ว

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ

ในน้ำหนักตัวของคนเราประกอบไปด้วยน้ำกว่า 70% นั่นแสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่หากอยู่โดยขาดน้ำ เพียงแค่ 5-10 วันก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพราะในแต่ละวันร่างกายจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อ ปัสสาวะ การหายใจ ฯลฯ จึงต้องมีการทดแทนน้ำในส่วนที่หายไป ซึ่งปริมาณน้ำที่เหมาะสำหรับคนแต่ช่วงวัย คือ

  • 4-8 ปี ควรดื่มน้ำปริมาณ 1,200 มล. (5 แก้ว/วัน)
  • 9-13 ปี ควรดื่มน้ำประมาณ 1,600-1,900 มล. (7-8 แก้ว/วัน)
  • 14-18 ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ 1,900-2,600 มล. (8-11 แก้ว/วัน)
  • ผู้หญิงที่อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ 2,100 มล. (9 แก้ว/วัน)
  • ผู้ชายที่อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ  3,000 มล. (13 แก้ว/วัน)

นอกจากนี้ หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือมีปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ควรเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากกว่าเดิม เมื่อร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอก็จะสามารถรักษาสมดุลน้ำในร่างกายได้ ทำให้สุขภาพต่าง ๆ ในร่างกายมีความสมบูรณ์ ระบบย่อยอาหาร ขับถ่าย และระบบต่าง ๆ ในร่างกายจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย แล้ว ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพ


การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ดื่มน้ำตอนไหนดีที่สุด

การดื่มน้ำเพื่อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายลดการเกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งนอกจากปริมาณแล้ว ช่วงเวลาในการดื่มก็สำคัญเช่นกัน หากดื่มน้ำตามช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้เพิ่มระบบการทำงานในร่างกายให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดื่มน้ำ คือ 

  • หลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว เพราะจะช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกายและยังเป็นการกระตุ้นระบบการทำงานในร่างกายตอนช่วงเช้าอีกด้วย
  • การดื่มน้ำหลังจากอาบน้ำ ในตอนเช้า 1 แก้ว ก็จะช่วยเรื่องความดันโลหิตได้เช่นกัน
  • ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร 30 นาที 1 แก้ว จะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • ดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารเสร็จ 1 ชั่วโมง 1 แก้ว ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำก่อนนอน 1 แก้ว เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียของเหลวในขณะที่นอน

ภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดในผู้สูงอายุ

ภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ เนื่องจากมีการตอบสนองต่อความกระหายน้ำน้อยลงแต่ร่างกายก็ยังคงสูญเสียน้ำอยู่เหมือนเดิมหากไม่มีน้ำมาทดแทนในส่วนที่สูญเสียไปอาจส่งผลให้เกิด ‘ภาวะขาดน้ำ’ ทำให้ผู้สูงอายุอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือชีพจรเร็วกว่า 120 ครั้ง/นาที แต่หากขาดน้ำในช่วงแรกปริมาณปัสสาวะ อาจมีปกติดี เพราะไตไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในภาวะขาดน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะในระยะแรกของภาวะขาดน้ำไม่ลดลง แม้หากขาดน้ำไปนาน ๆ จนสู่ระยะสุดท้ายอาจทำให้หัวใจล้มเหลวและไตวายได้

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้อาจต้องได้รับยาขับปัสสาวะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้สูงวัยไม่ค่อยอยากดื่มน้ำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในช่องปาก ปัญหาสายตา มือสั่น ไม่สามารถจับน้ำดื่มได้ ดังนั้นแล้วจึงต้องจัดหาน้ำดื่มที่สามารถหยิบจับได้อย่างสะดวกไว้ใกล้ผู้สูงอายุ และให้ดื่มทุกชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ หากผู้สูงวัยเริ่มขาดน้ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ผิวเหี่ยวย่นง่าย และดูไม่สดใส
  • เกิดปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรม ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
  • ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ดี
  • ตาและผิวแห้ง
  • มีอาการท้องผูก ท้องอืด เนื่องจากระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ดี
  • แก่เร็วขึ้น เกิดอาการสมองเสื่อม
  • ปวดตามข้อ หลัง หรือเอวได้ง่าย

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพในช่วงสูงวัย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจจะต้องดูเรื่องส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยงให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน ซึ่งเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมี ดังนี้

1. น้ำเปล่าสะอาด

น้ำเปล่าสะอาด

น้ำเปล่าธรรมดา ๆ นี่แหละที่เป็นส่วนสำคัญและเป็นการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย แม้มันจะไม่ได้มีสารที่ให้พลังงานใด ๆ แต่มันก็สามารถช่วยบำรุงด้านสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างดี เช่น ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของสารอาหารในร่างกายทำงานได้อย่างลื่นไหล ช่วยให้ไตขับสารพิษออกจากร่างกายได้มากขึ้น

2. น้ำผลไม้สด

น้ำผลไม้สด

ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำผักหรือผลไม้ที่คั้นสดเอง เนื่องจากน้ำผลไม้กล่องส่วนใหญ่มักจะมีน้ำตาลสูง ซึ่งน้ำผลไม้จะมีใยอาหารที่ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้อย่างดี แต่อาจจะต้องระวังเรื่องผลไม้โดยเลือกชนิดที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม ฝรั่ง แตงโม และต้องคำนึงถึงโรคประจำตัวที่บางคนอาจมีด้วย เพราะโรคบางชนิดก็ไม่สามารถรับประทานผลไม้บางอย่างได้ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดหวานเสี่ยงเกิดโรค

3. น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง

น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ในปัจจุบันนี้หาซื้อได้ง่ายและมีเครื่องเคียงหลายอย่างที่มีประโยชน์ที่สามารถรับประทานร่วมกันได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือไม่ควรใส่น้ำตาลเพิ่มอีกเพราะไขมันอาจสะสมเพิ่มได้ และน้ำเต้าหู้ทั่วไปมักมีรสชาติหวานอยู่ในตัวของมันอยู่แล้วหากใครสามารถทำดื่มเองได้หรือซื้อดื่มแบบร้อน ๆ ก็จะดีกว่าการซื้อดื่มเป็นกล่องที่มีการใส่น้ำตาลค่อนข้างเยอะ

4. นมพร่องมันเนย

นมพร่องมันเนย

ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องการโปรตีนเพื่อบำรุงและฟัน การเลือกดื่มนมพร่องมันเนยต้องเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากมันมีไขมันน้อยกว่านมชนิดอื่น ๆ และไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ เพราะผู้สูงอายุควรระวังเรื่องน้ำตาลเป็นอย่างดี หากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

5. น้ำสมุนไพร

น้ำสมุนไพร

ผู้สูงวัยส่วนมากมักจะชอบดื่มน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น น้ำขิง น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำอัญชัน ฯลฯ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลายด้านอีกด้วย ทั้งช่วยเติมความสดชื่น บรรเทาอาการกระหายน้ำ และช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ที่สำคัญต้องอย่าลืมเลือกดื่มแบบไม่ใส่น้ำตาลด้วย

6. เครื่องดื่มธัญพืช

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มธัญพืช

สำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาท้องผูก การดื่มเครื่องดื่มประเภทธัญพืชสามารถช่วยในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธัญพืชมีใยอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ และอุ้มน้ำในอุจจาระทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว


สำหรับผู้สูงวัยที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถดื่มได้ แต่ต้องย้ำว่าได้แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากดื่มมากเกินไปอาจทำลายตับทำให้เป็นโรคตับแข็งได้ หากดื่มเพียงแค่เล็กน้อยก่อนอาหารมันจะสามารถช่วยให้เจริญอาหารได้

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ และต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์ของเครื่องดื่มชนิดนั้น ๆ ไม่ควรดื่มตามใจชอบเพียงอย่างเดียว เพราะหากดื่มแต่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงก็จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้  หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอาจต้องปรึกษาแพทย์เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพว่าสามารถดื่มเครื่องดื่มชนิดนั้นได้หรือไม่


อ้างอิง 

อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ยี่ห้อไหนดี?

ทำอย่างไรดีเมื่อพ่อแม่ของเราเริ่มไม่ค่อยมีความอยากรับประทานอาหาร หรือรับประทานอะไรก็ดูจะไม่ถูกใจเลย ปัญหานี้เหล่าลูก ๆ คงลำบากใจมิใช่น้อย เพราะร่างกายผู้สูงอายุนั้นอ่อนแอ เนื่องจากสมรรถภาพนั้นเริ่มเสื่อมถอย บวกกับสารอาหารต่าง ๆ นั้นมาจากการรับประทานอาหารทั้งสิ้น เราควรทำอย่างไรดีให้ผู้สูงอายุในบ้านได้กลับมารับประทานอาหารอย่างมีความสุขอีกครั้ง บทความนี้เลยอยากพาทุกคนมาดูสาเหตุเพราะอะไรผู้สูงอายุจึงเบื่ออาหาร แล้วเราจะเลือก อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร อย่างไรดี ลองไปดูกันเลย


สาเหตุของอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ

สาเหตุของอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ

สาเหตุที่ผู้สูงอายุเริ่มทานน้อยลงนั้นมีนานาสาเหตุ เราจะแบ่งออกเป็นสองปัจจัยใหญ่คือ ปัญหาภายนอกและปัญหาภายใน

ปัญหาภายนอก คือสภาพแวดล้อมโดยรอบ บรรยากาศเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเบื่อได้เช่นกัน การแก้ขปัญหานั้นง่ายมาก ลองพาคุณพ่อคุณแม่ออกรับประทานข้าวนอกบ้าน หรือเปลี่ยนสถานที่ ปรับรูปแบบการเสริฟอาหารบ้าง ปรับเครื่องเคียง เป็นต้น

ปัญหาภายใน แบ่งย่อยอีกสองส่วน คือ สภาวะจิตใจและสภาวะร่างกาย

1. สภาวะจิตใจ ผู้สูงอายุอาจมีสภาวะซึมเศร้า เครียด หรือกังวล ส่งผลให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ทานน้อยลง เบื่ออาหาร ต้องให้แพทย์รักษาขจัดความเศร้า

2. สภาวะร่างกาย เมื่อร่างกายเสื่อมถอยลง อวัยวะภายในก็เริ่มรวน อย่างที่เห็นได้ชัดคือ

  • กระเพาะอาหารเริ่มเคลื่อนที่ช้า การทำงานลดลง ส่งผลให้กระเพาะหลั่งกรดย่อยอาหารน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ต่อมรับรสไม่ดีเช่นเดิม รวมถึงการรับกลิ่นเริ่มผิดเพี้ยน ทำให้รับประทานอาหารไม่อร่อยเหมือนเคย
  • สุขภาพในช่องปากและฟัน ผู้สูงอายุมักมีปัญหาในช่องพัน เช่น ฟันเหลือน้อย ฟันผุ ปากเป็นแผลข้างใน เป็นอุปสรรคต่อการบริโภคอาหารที่ต้องใช้ฟันเคี้ยว
  • เป็นอัลไซเมอร์ หรือมีปัญหาเรื่องความจำ ทำให้เกิดอาการหลงลืมว่าตนเองนั้นต้องรับประทานอาหารเมื่อใด ตารางเวลาชีวิตเปลี่ยนไปเพราะความทรงจำหล่นหาย ต้องลูกหลายคอยย้ำเตือน
  • ยาที่รักษาโรค อาจเกิดผลข้างเคียง อย่างเช่น อาการคลื่นไส้ ฉะนั้นหากเกิดอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหารขึ้นมาควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพื่อปรับเปลี่ยนยา
  • การใช้สมุนไพรบางชนิด ผู้สูงอายุหลายคนก็เลือกที่จะบำรุงตนเองด้วยการรับประทานสมุนไพรหรือบางครั้งอาจจะเป็นตัวลูกหลานเอง ด้วยความเชื่อว่าสมุนไพร สิ่งอันใดที่มาจากธรรมชาตินั้นดีที่สุด การบริโภคมากไปหรือไม่ทราบผลกระทบ ทำให้ร่างกายภายในนั้นปั่นป่วนได้อย่างไม่น่าสงสัย ดังนั้น ควรศึกษาสมุนไพรแต่ละประเภทอย่างละเอียดถี่ถ้วนและปรึกษาแพทย์ที่น่าเชื่อถือก่อรรับประทาน
  • ปัญหาสุขภาพร่างกาย มีโรคประจำตัว เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ ตาฝ้าฟาง ทำให้การทำอาหารเองนั้นยากลำบาก

และปัญหาอื่น ๆ เช่น ผู้สูงอายุอยู่ตัวคนเดียว บ้านอยู่ไกลจากตลาดหรือห้างสรรพสินค้าและไม่มีรถ ทำให้การเดินทางลำบากและยากที่จะเข้าถึงอาหารที่หลากหลาย จึงจำเป็นต้องรับประทานตามแหล่งที่สามารถหาเองได้ หรือปัญหาด้านการเงินเองก็ทำให้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะแถบพื้นที่ห่างไกลต้องประสบปัญหานี้อยู่บ่อยครั้ง


ผลกระทบการเบื่ออาหารนั้นรุนแรงอย่างยิ่ง

การเบื่ออาหารนั้นรุนแรงเฉกเช่นเดียวกับกลุ่มผู้อายุที่ขาดสารอาหาร เพราะถ้าหากผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร ก็จะไม่มีสารอาหารประโยชน์ใดใดขับเคลื่อนให้กับร่างกาย ส่งผลให้อ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีแรงแม้แต่จะลุกขึ้นยืนหรือเดินได้ อีกทั้งในผู้สูงอายุบางคนมีบาดแผลจากการผ่าตัด หรือสะดุดล้มอย่างไม่ได้ตั้งใจ ก็จะส่งผลให้แผลฟื้นฟูช้า หายช้า เสี่ยงการติดเชื้อสูง

คุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า หากผู้สูงอายุเกิดสถาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง ร่างกายก็จะขาดโปรตีน ขาดโพแทสเซียมและเกิดสภาวะโซเดียมต่ำ ส่งผลโดยตรงกับการพยุงตัวตนเองอาจจะไม่มีเรี่ยวแรง และอัตราการเต้นของตัวใจอาจผิดจังหวะได้


วิตามินและเเร่ธาตุที่ควรได้รับในผู้สูงอายุ

วิตามินและเเร่ธาตุที่ควรได้รับในผู้สูงอายุ

เพราะการรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจจะได้รับวิตามินที่มากไปหรือน้อยไปในผู้สูงอายุ ควรเฝ้าระวังไว้ดังนี้

วิตามินเอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรค ลดการสุ่มเสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ รอบบ้าน ให้ความกระจ่างใสในการมองเห็นในผู้สูงอายุ ลดการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่กระนั้นก็ควรมีข้อระวังคือ ในผู้สูงอายุการดูดซึมวิตามินเอจะดูดซึมง่ายขึ้น แต่การขับออกจากร่างกายนั้นค่อนข้างยาก ทำให้มีวิตามินเอสะสมในตับและเลือด ส่งผลให้เกิดพิษจากวิตามินเอได้ และอาการที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้สูงอายุอารมณ์แปรปรวน ผมร่วง และคลื่นไส้ 

วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเเละเป็นวิตามินจำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายภายในทำงานได้ดี ผู้สูงอายุส่วนมาก อาจจะขาดวิตามินซี เนื่องจากไม่ได้รับประทานผลไม้ที่หลากหลายมากพอ หรือในกระบวนการทำอาหารทำให้สูญเสียวิตามินธรรมชาติไป และไม่ต้องห่วงว่าผู้สูงอายุจะได้รับมากไปและเกิดอันตรายต่อร่างกาย วิตามินซีตามธรรมชาติจะขับออกมาทางปัสสาวะ และละลายไว ไม่ตกค้างต่อร่างกาย

วิตามินดี หน้าที่ของวิตามินดีคือ ป้องกันสภาวะกระดูกพรุน รักษระดับแคลเซียมในเลือด สามารถหาวิตามินดีได้ในธรรมชาติ เช่น แสงแดดอ่อนในช่วงเช้าไม่เกิน 8 โมงเช้าและอาหารจากธรรมชาติ เช่น ตับของสัตว์ ไข่แดง นม ปลาทู ปลาทะเลน้ำลึกเช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน เป็นต้น

วิตามินเค เป็นวิตามินละลายไขมัน มีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด ป้องกันภาวะเลือดไหลผิดปกติ บำรุงเนื้อเยื่อกระดูกให้อยู่ในสภาะปกติ ในผู้สูงอายุบางคนอาจใช้ยาปฏิชีวนะทำให้สูญเสียวิตามินเคในลำไส้ได้ ปกติแล้วเราสามารถหาวิตามินเคตามธรรมชาติใน ผักใบเขียวเข้ม อะโวคาโด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และเนื้อสัตว์ แต่บางท่านควรได้รับรับตามินเคเสริมจากแพทย์เท่านั้น

วิตามินบี 12 มีบทบาทสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง และมีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง หากผู้สูงอายุมีการขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เกิดการหลงลืมได้ง่าย ความจำเสื่อม รับรู้ช้า อ่อนเพลียได้ง่าย เกิดอาการชาปลายมือและเท้า จนไปถึงอาการเบื่ออาหาร เราสามารถพบวิตามินบี 12 ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์ใหญ่ ไข่ไก่ นมวัว ตับสัตว์ เป็นต้น และข้อควรระวังในยาบางตัว เช่น Metformin หรือ ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารกลุ่ม Histamine-2 blockers จะขัดขวางการส่งวิตามินบี 12 เข้าร่างกาย

แคลเซียม เป็นสารอาหารสำคัญในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ กระดูกและฟัน ในสมรรถภพของผู้สูงอายุการทำงานของกระดูกนั้นจะฟื้นฟูยากกว่าช่วงอายุเด็กหรือหนุ่มสาว ดังนั้น หากแต่ละวันเราสามารถเสริมแคลเซียมได้ แต่ก็ไม่ควรเกิน 1,200 กรัมในผู้สูงอายุ เพราะถ้าเกิดสภาวะแคลเซียมมากเกิดไปจะเกิดพิษในเลือด ทำใจอัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ ใจสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อยขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

โพแทสเซียม เกี่ยวข้องกับการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะส่วนหัวใจ รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย ควบคุมไตและความดันโลหิต สามารถหาได้ใน ผลไม้อบแห้ง ผักสีเข้ม ถั่วอบแห้งต่าง ๆ สัปปะรด แอปเปิล ฝรั่ง เห็ดหูหนู ฟักเขียว กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น หากผู้สูงอายุขาดโพแทสเซียมก็อาจจะไม่มีเรี่ยวแรงที่จะลุกยืนเลย หัวใจเต้นแรงผิดปกติ

โปรตีน เป็นต้นสารอาหารที่ทุกคนไม่ควรขาด เพราะเป็นเสาหลักที่ให้พลังงาน เสริมสร้างโปรตีน ไม่ว่าช่วงวัยไหนโปรตีนนั้นสำคัญมากที่สุด ในผู้สูงอายุการรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ สัตว์จำพวกปลา จะทำให้ร่างกายมีโปรตีนสะสม สร้างกล้ามเนื้อที่เเข็งแรงไม่ลีบแบน 


อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ยี่ห้อไหนดี?

อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร

หากเราทราบสาเหตุว่าทำไมผู้สูงอายุนั้นเริ่มเบื่ออาหาร แต่การกินนั้นยังเป็นปัญหาใหญ่จุกจิก แล้ว ผู้สูงอายุจำเป็นต้องกินอาหารเสริมหรือไม่? ขอบอกเลยว่าจำเป็นมาก เพราะหากร่างกายขาดสารอาหาร อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ แต่การกินอาหารเสริมก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ร่วมด้วย

เราจึงขอนำเสนอตัวเลือกอาหารเสริมที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะรับประทานง่าย อีกทั้งไม่มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากและได้สารอาหารที่ต้องการครบถ้วนอีกด้วย ปัจจุบันนี้ทางผู้ผลิตมี อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ ฉะนั้น เมื่อคุณพิจารณาว่าผู้สูงอายุในบ้านของคุณชอบแบบใด ในทางเลือกนี้อาจจะถูกใจท่านไม่มากก็น้อย

  • Nestle Boost Optimum 800 กรัม 

อาหารเสริมผู้สูงอายุเบื่ออาหาร Nestle Boost Optimum 800 กรัม

เป็นอาหารเสริมยอดฮิตทางการแพทย์ สูตรสารอาหารครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เวย์โปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อไม่ให้ลีบแบน กรดอะมิโนจำเป็น ช่วยผลักดันการสร้างกล้ามเนื้อในโปรตีน มีใยอาหารช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายรวมไปถึงแลคโตบาซิลลัสและพาราคาเซอิ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดี บวกกับวิตามินอื่น ๆ อีก 29 ชนิดที่เสริมภูมิต้านทานและสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระแก่ร่างกาย เหมาะกับผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหาร ผู้ป่วยระยะพักฟื้นหรือบุคคลปกติที่ต้องการสารอาหารจำเป็น

  • Ensure Balanced Nutrition Complete 400 กรัม

Ensure Balanced Nutrition Complete 400 กรัม

เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ขาดสารอาหารและผ่าตัดพักฟื้น สูตรสารอาหารครบถ้วน มาพร้อมกับพร้อมวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร อีกทั้งโปรตีน 3 ชนิด เวย์ เคซีน และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองที่เสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงวิตามินบี 6 บี 12 วิตามินซี และสังกะสี ที่มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องกังวลว่ารสชาติจะไม่อร่อย เพราะมีให้เลือก 4 รสชาติด้วยกัน ได้แก่ รสวานิลลา สตอร์เบอร์รี่ ธัญพืชและช็อกโกแลต

  • Blackmores Multivitamin Nutri 50+ จำนวน 60 แคปซูล

Blackmores Multivitamin Nutri 50+ จำนวน 60 แคปซูล

รวบรวมวิตามินสำหรับผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย ไม่เหนื่อยอ่อนแอ อ่อนเพลียได้ง่าย กระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ในผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย สารสกัดจากเห็นหลินจือ ใบแปะก๊วย โสมเกาหลี และแอสทรากาลัส วิตามินเอ และวิตาแร่ธาตุรวมมากกว่า 10 ชนิด

  • Puritan’s Pride ABC Plus Senior Multivitamin จำนวน 60 แคปซูล

Puritan’s Pride ABC Plus Senior Multivitamin จำนวน 60 แคปซูล

วิตามินและแร่ธาตุรวมสำหรับบำรุงร่างกายผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ทานแค่วันละ 1 เม็ด ช่วยชดเชยการได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน ช่วยให้รู้สึกสดชื่นให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม 31 ชนิด อาทิเช่น Calcium, Magnecium, Phosphorus, Iodine, Vitamin C, Zinc, Vitamin E, Vitamin B3, Vitamin A, Vitamin k, Vitamin D, Vitamin B6, Vitamin D3, Vitamin B2, Vitamin B1, Vitamin B12, Folate, D-Biotin, Lutein, Lycopene เป็นต้น

  • แบรนด์ เอ็ม-โอ-พลัส จำนวน 120 เม็ด

แบรนด์ เอ็ม-โอ-พลัส จำนวน 120 เม็ด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไฮโดรไลซ์เปปไทด์จากไก่ผสมแคลเซียมและวิตามินอี ผสาน 3 คุณค่าสำคัญ ไฮโดรไลซ์เปปไทด์จากไก่ วิตามินอี มีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระและเสริมสร้างความจำ เหมาะกับผู้สูงอายุ วัยเรียนและวัยทำงาน

  • CENTRUM SILVER 50+ DIETARY SUPPLEMENT จำนวน 30 เม็ด

CENTRUM SILVER 50+ DIETARY SUPPLEMENT 30TABS เซนทรัม ซิวเวอร์ 50+ จำนวน 30 เม็ด

เหมาะกับผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ให้รับประทานวันละ 1 เม็ดเท่านั้น ประกอบด้วย วิตามินและเกลือแร่รวม 23 ชนิด มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียมไบโอติน โปรตีนและไขมัน ทำให้ร่างกายรักษาสมดุลเมตาบอลิซึมและรับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตได้เป็นปกติ 


จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุและสุขภาพเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความเข้าใจเข้าถึงแต่ละสาเหตุ ลูกหลานควรให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อเฝ้าสังเกต เริ่มจากการกินและสุขภาพจิตใจ ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดก่อนที่โรคอื่น ๆ จะมาตามรบกวนสุขภาพของท่านได้


อ้างอิง

สังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมที่เน้นคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านสุขภาพ การเกษียณอายุ ที่พักอาศัยที่มีความเหมาะสม และการพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอย่างมั่นคงและมีคุณภาพได้ตลอดชีวิต เนื่องจากปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสังคมต้องการให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนในสังคม


สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านโครงสร้างอายุของประชากร ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง Aging Society หรือ สังคมผู้สูงอายุ คืออะไรนั้น อ้างอิงจากคำจำกัดความขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN World Population Ageing) ได้นิยามคำว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึง กลุ่มของประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งได้แบ่งระดับของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 

  1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
  3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติสรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 (2005) โดยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี 2567-2568 (2024-2025) สรุปได้ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับ Aging Society เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2548 แล้วกำลังที่จะเขยิบขึ้นไปสู่สังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไม่เกินปี 2567 แน่นอน เราควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้และอนาคตอันใกล้อย่างเข้าใจและควรปรับตัว เรียนรู้ให้ได้เท่าทัน

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยในประเทศ เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากทำให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจจุบัน เราจะเป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต


เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไรนั้น ต้องสร้างขึ้นทั้งกายและใจ 

การเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย โดยค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้สูงอายุในประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รายได้ การพัฒนาศักยภาพรวมถึงเรื่องราวของโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการจัดการกับปัญหาเพื่อหาทางออกสำหรับผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าเป็น “เคล็ดลับ” อายุยืนให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น 

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านร่างกายก็เป็นผลมาจากเรื่องง่ายๆ อย่างการเคลื่อน ไหวร่างกายหรือออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เชื่อมั้ยว่า แค่เราขยับร่างกายวันละไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ก็อาจจะช่วยต่ออายุคุณให้ยืนยาวไปอีกหลายปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ถ้าไม่อยากป่วย จงลุกขึ้นมา

ผู้ที่อายุมากขึ้นและอยู่ในอาการเฉื่อยชา ควรหันมาเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้าร่วม โปรแกรมใด ๆ ก่อนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ไปดูคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกายกันเลย

ขั้นแรกเริ่มด้วยการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งมีความหนักในระดับปานกลาง เพราะการเลือกกิจกรรมที่เราชอบ จะทำให้เราอดทนออกกำลังได้นานขึ้น จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการออกกำลังทีละน้อยทุก ๆ 2-3 วัน จนกระทั่งออกกำลังได้นานต่อเนื่องครั้งละ 30 นาที โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป

เมื่อใช้เวลาออกกำลังครั้งละ 30 นาทีจนอยู่ตัวแล้ว ให้ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นอีก หรือเพิ่มความหนักหน่วงของกิจกรรม หรือทั้งสองอย่างเลยก็ได้ ต่อมาให้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และได้รับประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

2. ออกกำลังกายไล่ความเจ็บป่วย

ผู้ที่ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงและกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม้อายุจะมากขึ้น เรื่องนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดแห่งโบลเดอร์ สหรัฐฯ พบว่า การลดลงของแอนติบอดี อันเนื่องมาจากอายุ เป็นสัญญาณว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยลง แต่การออกกำลังกายจะช่วยคงสภาพการตอบสนองของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (T-Cell) อย่างเหมาะสม

ดังนั้น การออกกำลังกายจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป เพราะคนในวัยนี้มักมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันได้ง่าย และยังเป็นแนวทางการป้องกัน โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

3. ร่างกายสมบูรณ์ สมองก็ฟิต

ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายกระฉับกระเฉงจะมี สมาธิดี อาจช่วยรักษาความจำและต่อสู้กับภาวะความจำเสื่อมได้ จากการศึกษาของนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไฟน์เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น พบว่า วิถีชีวิตแบบทำงานนั่งโต๊ะ มีผลเสียโดยตรงต่อความสามารถทางปัญญาและคุณภาพการนอนหลับเมื่อเราอายุมากขึ้น

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยให้ชายและหญิงอายุ 67-86 ปี ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี เข้าร่วมการศึกษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ตามข้อกำหนด โดยให้พวกเขาออกกำลังกายเบาๆ นาน 30 นาที ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 30 นาที และปิดท้ายด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลางอีก 30 นาที

ในแต่ละครั้งจะเริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกาย เช่น เหยียดแขน ขา และออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง (เดินหรือออกกำลังร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง) ในช่วงสุดท้ายให้ออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง ได้แก่ การเดินเร็ว กายบริหาร หรือเต้นรำ และทำให้ร่างกายเย็นลง 10 นาที โดยทั้งหมดนี้ครอบคลุมระยะเวลา 90 นาที

เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมอง และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น หลับลึกขึ้น และตื่นระหว่างคืนน้อยลงถึงร้อยละ 4-6

4. อายุไม่ใช่ข้ออ้างอีกต่อไป

การศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชายและหญิงอายุระหว่าง 50-60 ปี อยากมีร่างกาย ที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะหรือมีอุปนิสัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือสูบบุหรี่

โดยนักวิจัยได้เฝ้าติดตามผู้สูงอายุจำนวน 9,611 ราย พบว่า ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี และยังมีความกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตใน 8 ปีข้างหน้า น้อยกว่าผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะร้อยละ 35 ซึ่งความเสี่ยงที่ลดลงนั้น พบในผู้เข้าร่วมทำการศึกษาที่ออกกำลังกายระดับปานกลางทั่ว ๆ ไป เช่น เดินเล่น ทำสวน และเต้นรำ แม้แต่คนอ้วนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตน้อยลง หากรู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ


การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

นอกจากการดูแลร่างกายแล้ว เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านจิตใจนั้นใช้หลักจิตวิทยาพร้อมเทคนิคง่าย ๆ ในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง และสร้างกำลังใจให้สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้อย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รู้จักธรรมชาติตนเอง

ถ้ารู้ว่าเวลาที่ตัวเองหิวจัด จะหยิบอาหารที่ใกล้ตัวเข้าปากทันที ก็ต้องรู้จักวางแผนให้ดี วางระบบให้ร่างกายด้วยการเลือกและเตรียมอาหารล่วงหน้า อย่ารอให้หิวก่อน เพราะเมื่อหิว เรามักจะมีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจน้อยลง แนะนำ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ต้องกินแบบไหนถึงดีต่อร่างกาย

2. คำพูดสร้างพลัง

หาคำพูดที่จะช่วยดึงสติให้เราเอาชนะใจตัวเองได้ เช่น สำหรับคนที่กำลังคุมน้ำหนัก เมื่อเห็นอาหารมากมายตรงหน้า ลองถามตัวเองว่า “คุ้มไหม” เพื่อเตือนสติ ป้องกันไม่ให้เผลอกินอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

3. หมั่นหาความรู้

พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ หรือ วิธีการออกกำลังกายที่หลากหลายมากขึ้น

4. รู้จักผ่อนคลาย

ไม่ให้อยู่ในสภาวะกดดัน หรือตึงเครียดจนเกินไป ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียด ไม่จมอยู่กับปัญหา และฝึกปล่อยวาง เทคนิคง่าย ๆ คือการยิ้มให้ตัวเองตอนเช้า เพื่อสร้างอารมณ์ที่ดีรับวันใหม่อย่างแจ่มใส การผ่อนคลายโดยการให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ ยังมีวิธีการจัดการอารมณ์เบื้องต้นที่ง่ายที่สุดคือ การฝึกหายใจให้ยาวและการออกกำลังกาย แต่ถ้าไม่มีเวลา สามารถฝึกหายใจง่าย ๆ ได้ ก่อนและหลังการนอน ช่วงละ 20 ครั้ง

5. มองหาความสุขอย่างง่าย ๆ

คนส่วนใหญ่มักคิดและมองหาความสำเร็จในหน้าที่การงานว่าสามารถทำให้เกิดความสุข จนลืมมองความสุขใกล้ตัวซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เช่น ความสุขจากการพูดคุยกับคนในบ้านระหว่างการกินมื้อเย็นร่วมกัน และเมื่อเรามีต้นทุนความสุขดี ๆ การที่เราจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องอื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้น

 

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจสำหรับผู้สูงอาย เป็นวิธีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในกายและใจของผู้สูงอาย เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ได้อย่างมีคุณภาพ วิธีการเหล่านี้สามารถทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกิจกรรมที่ชอบ การพูดคุยกับเพื่อนฝูง และการอ่านหนังสือหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ นอกจากนี้ ยังสามารถเรียนรู้เทคนิคการจัดการอารมณ์และการสร้างกำลังใจจากสิ่งอื่น ๆ ได้เช่นกัน


อ้างอิง

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกายและสมอง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม ดังนั้น การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยจะต้องมีการป้องกันการเกิดโรค และการดูแลรักษาโรคให้เหมาะสม


โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

1. โรคสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในระบบการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลงหรือบกพร่อง เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่อง มักพบมาในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกายหรือสูบบุหรี่เป็นเวลานาน และผู้คนที่ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสมอง ส่วนมากจะพบในอายุ 60 ปีขึ้นไป

2. โรคกระดูกพรุน

โรคเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนลดลงในผู้สูงอายุ พบมากในผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้แคลมเซียมสลายออกจากกระดูกมากขึ้น กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง กระดูกบางและเปราะหักง่ายขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

3. โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าอักเสบ หรือข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ผู้ที่ใช้ข้อเข่ามากเกินไปหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การใช้งานขาและหัวเข่าผิดท่าสะสมเป็นเวลานาน หรือเป็นโรคที่ส่งผลกับเข่า เช่น โรคอ้วน โรคเกาต์ และอาการอักเสบของเข่า เป็นต้น

4. โรคเบาหวาน

เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

5. โรคไต

โรคไตในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนตามอายุ และการโตขึ้นของเยื่อต่อมลูกหมาก ระยะเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเสื่อมลง จะเกิดการคั่งของเสียในกระแสเลือด และมีอาการต่าง ๆ ตามมา

6. โรคความดันโลหิตสูง

คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดสมองตีบและแตก และทำให้เกิดการเสื่อมลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้ไม่ดี โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยมาจากความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย และการได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด

7. โรคตา

ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ตาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงไป โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคต้อลม โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง และน้ำวุ้นตาเสื่อม หากดวงตามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที

8. โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคที่คนไทยป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง พบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุของโรคมักเกิดมาจากการสะสมไขมันของเส้นเลือด อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ และเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น หากปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง อาจเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน

9. โรคมะเร็ง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากอายุมากขึ้นเซลล์ในร่างกายนั้นเสื่อมลง และกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ มะเร็งในผู้ชายสูงอายุ ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งตับอ่อน / มะเร็งในผู้หญิงสูงอายุ มักพบมะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์ เช่น มดลูก เต้านม และรังไข่ ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็มีมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อน

10. โรคหลอดเลือดสมอง

อีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตและพิการ โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะมีสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลันมาจากอาการขาดอาหารและเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตายสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุเพศชายอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี 

อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรกินอย่างไรจึงเหมาะสม 

  1. เลือกอาหาร วัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อย ๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว แนะนำ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไรดี 
  3. สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
  4. หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่าง ๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้
  5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียง อาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด
  8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ล่ะก็ควรพบแพทย์ดีที่สุด
  9. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

สรุป 

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงการป่วยเป็นโรคที่พบบ่อยผู้สูงอายุนั้น ตัวผู้สูงอายุเองตลอดจนผู้ที่ดูแลไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ทั้งการควบคุมอาหาร งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่รับประทานยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้

แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีอาจมีแนวทางที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดที่แตกต่างกันรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวผู้สูงอายุเองคือการที่ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชิวิตได้ด้วยตนเอง โดยมีการพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ผู้สูงอายุมีความพอใจกับความสุขตามอัตภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุมีความสามารถทำตัวให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม เพื่อสร้างความภูมิใจในคำยกย่องจากสังคมโดยรวมการ สำหรับดูแลผู้สูงอายุด้วยคนในครอบครัวเป็นการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเรื่องของปัจจัยสี่ การให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และการดูแลรักษาสุขภาพทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ

สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยสถาบันต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์ สถานพยาบาลหรือสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เป็นต้น มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกเพื่อร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในชุมชนระหว่างตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว คนในชุมชนและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่มีลักษณะการบริการที่แตกต่างกัน การ เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี บทบาทสำคัญอยู่ที่ครอบครัวกับผู้สูงอายุ โดยครอบครัวต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุต้องมีเจตคติที่ดีต่อความสูงวัยอันจะทำให้เกิดความเข้าใจ ความเอื้ออาทรอย่างแท้จริงในการดูแลผู้สูงอายุ หากจะเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างความรู้ในการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุกับการส่งเสริมให้คนในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวมากกว่า


อ้างอิง

ท้องผูกในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย สามารถป้องกันได้ เพื่อลดความรุนแรง และอาการเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาหลายประการ โดยภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบอยู่ที่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์

พบมากในเพศหญิงและผู้ที่มีอายุมาก ส่วนอุบัติการณ์ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ ปกติพบมากในชุมชนถึงร้อยละ 10-20 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน แต่ในสถานบริบาล อาจพบสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว การดูแลภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานควรเอาใจใส่ ไม่ควรปล่อยปะละเลย สุขภาวะนี้ในผู้สูงอายุ


ท้องผูกในผู้สูงอายุ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง 

ท้องผูกในผู้สูงอายุ

เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาท้องผูก สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ทั้งกาย พฤติกรรม และอาหาร เช่น

1. โรคต่าง ๆ 

ผู้สูงอายุมักจะมีภาวะของโรคอยู่หลาย ๆ โรค ที่ทำให้มีโอกาสท้องผูกได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน

2. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย

ผู้สูงอายุบางคนมักรับประทานอาหารน้อยลง ดื่มน้ำน้อย หรือมีความอยากอาหารลดน้อยลง บางคนจะรับประทาน อาหารที่มีกากใยไม่ค่อยได้ ซึ่งอาหารที่มีเส้นใยจะเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อน

3. สุขนิสัยส่วนตัว

ผู้สูงอายุควรสร้างนิสัยการขับถ่ายที่ดี เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเวลา หรือไม่กลั้นอุจจาระบ่อยๆ

4. ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง

สาเหตุจาก การบดเคี้ยวไม่ดี เนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง โดยความรับรู้ความรู้สึกของตัวลำไส้น้อยลงที่เป็นไปตามอายุมากขึ้น

5. ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือไม่มีการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกาย และการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหาร ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวให้มีการขับถ่ายดีขึ้น

6. การรับประทานยาระบาย

หากทานยาระบายเป็นประจำ จะทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอ จนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้

7. ความเครียด

ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้

8. ยารักษาโรคบางชนิด

อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิดอย่าง มอร์ฟีน

9. สาเหตุอื่น ๆ

ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการทำงานของต่อมบางอย่างที่ผิดปกติไป ฯลฯ

หากผู้สูงอายุมีปัญหาท้องผูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของลำไส้ และการดื่มน้ำให้เพียงพอ อาจมีการให้ยาแก้ท้องผูก เพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือใช้วิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อลดอาการท้องผูก

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรรักษาพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เช่น บริโภคอาหารที่มีใยอาหารเพียงพอ ดื่มน้ำเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และรักษาระยะเวลาการนอนหรือนั่งให้เหมาะสม


ท้องผูกในผู้สูงอายุ มีแนวทางดูแลป้องกันได้อย่างไร 

ท้องผูกในผู้สูงอายุ มีแนวทางดูแลป้องกันได้อย่างไร 

1. รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น

อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิล เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ

2. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

แนะนำให้ ผู้สูงวัยดื่มน้ำ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ถ้าแพทย์ไม่ได้จำกัดน้ำดื่ม) อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง

3. ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน

ไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งตำราโบราณถือว่า เวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด หรือจัดสถานที่ขับถ่ายให้เหมาะสม

4. ออกกำลังกายเบา ๆ

การออกกำลังกาย เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น

5. ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่งหรือผ่าตัด

ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1-4 ไม่ได้ผล การใช้ยาระบายให้ใช้เท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติตัวดีก็หายเองได้ หากไม่หายอาจจำเป็นต้องคำนึงถึงการผ่าตัด ในกรณีที่พบว่ามีการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้ใหญ่ที่ช้ามาก อาจจะต้องตัดลำไส้ออก

6. ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน

สูดลมหายใจเข้าออกยาว ๆ ฟังดนตรีเบา ๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย

6 ข้อเหล่านี้คือมาตรการในการป้องกันและรักษาภาวะท้องผูกที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ หากผู้สูงอายุมีอาการท้องผูก และไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย มีภาวะเครียด และรบกวนการดำเนินกิจวัตรประจำวัน

อาการท้องผูกเป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ทุกคนควรใส่ใจในการป้องกัน และการแก้ไขภาวะท้องผูก อีกทั้งช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ


อ้างอิง

อายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญส่งผลต่อภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งพบว่าในผู้สูงอายุมักมีการนอนไม่หลับสูงกว่าวัยอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่า ในประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาการ นอนไม่หลับ สูงถึง 50% มีภาวะการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ 2-10% ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และควรทำความเข้าใจ


ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ มีสาเหตุนะ! ไม่ใช่เรื่องปกติ

ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ ทำยังไงดี? มีวิธีแก้หรือไม่?

สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดจากอายุที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสมองของคนเราจะเสื่อมไปตามวัยนั้นพบได้ในผู้สูงอายุทุกเพศ และเป็นแทบทุกคน แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีก็ตาม การทำงานของสมองจึงรวน ทำให้การทำงานของร่างกายเสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดลง ตลอดจนโรคประจำตัวที่รบกวนการนอน

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาที่การนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ทั้งกายและจิตใจ นอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัญหาทางกาย เช่น อาการปวดเจ็บ ไม่สบายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือปัญหาทางสังคม จึงต้อง ดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ

ซึ่งสามารถกล่าวโดยรายละเอียด แบ่งออกได้คือ

  1. ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ทำให้มีผลกระทบในการนอนต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมหมวกไต หรือไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง
  2. ผู้สูงอายุที่มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามร่างกาย ส่งผลทางอ้อมต่อการนอนหลับ เช่น โรคข้อเสื่อม
  3. ผู้สูงอายุที่ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทหรือสมอง เช่น การใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน การใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสัน หรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิด อาทิเช่น ยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ เมื่อผู้สูงอายุใช้ยาเหล่านี้จะส่งผลต่อการนอนไม่หลับ ซึ่งหากผู้สูงอายุหยุดกินยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง
  4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล

ในเรื่องของการตื่นนอนกลางดึกที่ผู้สูงอายุ รวมถึงคนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากมีการตื่นกลางดึกและสามารถนอนหลับต่อได้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง และไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนแต่อย่างใด


ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่? 

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่? 

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้ โดยเริ่มต้นให้ดูก่อนว่า ผู้สูงอายุประสบปัญหามีเรื่องใด วิตกกังวลอยู่หรือไม่ หากมีให้จัดการที่เรื่องนั้น เมื่อไม่มีความวิตกกังวลก็จะสามารถนอนหลับได้ในที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีเรื่องวิตกกังวล อาจมีในเรื่องของโรคประจำตัวที่รบกวนการนอน ซึ่งควรดูแลที่ตัวโรคนั้น ๆ และสนันสนุนปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ด้วยการป้องกันและการดูแลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอน ดังนี้

1. การจัดห้องนอน

จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่ช่วยให้หลับสบาย ได้แก่

  • มีความเงียบสงบ
  • ใช้ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มที่มีสีไม่ฉูดฉาด
  • ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
  • ไม่ควรสว่างเกินไป เพราะแสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับ

2. การเข้านอน

ควรให้ความสำคัญกับเวลา และสถานที่ในการนอน ได้แก่

  • พยายามนอนให้เป็นเวลา และสถานที่เดิมทุกวัน เพื่อให้เกิดความเคยชิน
  • ไม่ควรนอนกลางวันเป็นเวลานาน ๆ อาจหากิจกรรมเบา ๆ ทำ หรือพูดคุยเล่น หากเพลีย หรือง่วงจริง ๆ อาจงีบได้บ้าง แต่ไม่ควรงีบหลังบ่าย 3 โมง เพราะจะทำให้กลางคืนหลับยาก
  • ไม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำมากนัก เวลาที่เหมาะสมคือ 3-4 ทุ่ม และตื่นตี 4-5

3. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

  • เลือกรับประทานอาหารเย็นให้เป็นเวลา และควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • พยายามดื่มน้ำช่วงเช้าและกลางวัน และดื่มให้น้อยลงหลังอาหารเย็น เพื่อลดการปัสสาวะตอนกลางคืน นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหลัง เวลาบ่าย 2 โมง คำแนะนำในการ ดื่มน้ำสำหรับผู้สูงวัย
  • งดการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดการดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้หรือไม่

4. กิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการนอนหลับ

  • พิ่มกิจกรรม หรือออกกำลังกายในช่วงกลางวันให้มากขึ้น และเมื่อถึงเวลานอน แต่ผู้สูงอายุไม่ง่วง ควรหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ
  • ฝึกทำสมาธิก่อนนอน เพื่อให้จิตใจสงบ จะทำให้นอนหลับได้ลึกและเต็มอิ่ม

5. แพทย์และการใช้ยา

  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับ และรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
  • หากต้องใช้ยานอนหลับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ติดได้ 

หากผู้สูงอายุมีปัญหาที่การนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพ เพื่อการวินิจฉัย และรับการดูแลที่เหมาะสม แพทย์อาจต้องการทำการตรวจร่างกาย การวิเคราะห์ประวัติการนอนหลับ หรือแบบประเมินอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของปัญหานอนไม่หลับ

นอกจากนี้ สามารถทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อส่งเสริมการนอนหลับ เช่น ตั้งเวลานอน และตื่นเช้าให้เป็นประจำ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ ลดการบริโภคสารติดต่อใจ และเลือกทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยได้


อ้างอิง

เมื่อเกิดปัญหา เข่าเสื่อม มักจะมีอาการเจ็บปวดและความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า อาการเข่าเสื่อมสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเกิดการสึกหรอ อาการเสื่อมสภาพของกระดูกเข่า การบาดเจ็บ ภาวะอักเสบ หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อข้อเข่า

หากผู้สูงอายุมีอาการเข่าเสื่อม ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษา เช่น การเล่นกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า การผ่าตัด นอกจากนี้ อาจมีการแนะนำให้ใช้สายรัดเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือการรับประทานยาบางชนิด เพื่อควบคุมอาการปวด เป็นต้น


เข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุมักเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

เข่าเสื่อม เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนของข้อเข่าสึกหรอ ฉีกขาด จนไม่สามารถหล่อลื่นข้อเข่าให้ใช้งานเป็นปกติได้ เรียกว่า “ภาวะข้อเข่าเสื่อม” บางครั้งอาจจะมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดร่วมด้วย เมื่อกระดูกอ่อนสึกหรอจนถึงกระดูกแข็ง โดยอาการข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการปวดข้อเข่า  รู้สึกข้อเข่าขัดๆ เคลื่อนไหวไม่สะดวก  มีเสียงดังในข้อ เวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อเข่า ตลอดจนเข่าโก่งงด ผิดรูปร่าง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าเวลาลงน้ำหนักเข่าขณะเดิน หรือขึ้นลงบันได

ข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะเกิดกับคนไข้อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็น โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ  โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในคนไข้ที่น้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ หรือในกรณีที่คนไข้ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า หรือเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ข้อแบบผิดๆ ซึ่งสาเหตุของข้อเข่าเสื่อม มีรายละเอียดดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย
  • น้ำหนักตัวที่เกิน จะเพิ่มแรงกระทำต่อข้อเข่า
  • การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่กระตุ้นให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ ผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนการใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ ทำให้มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก
  • ผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน
  • การใช้งานเข่าอย่างผิดวิธี เช่น ออกกำลังกายโดยการวิ่งทุกวัน หรือเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด โดยไม่ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา
  • เคยประสบอุบัติเหตุที่เข่าโดยตรง เคยได้รับการผ่าตัดที่เข่า จะทำให้เป็นเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  • ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ เก๊าต์ เป็นต้น 

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? 

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่?

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ โดยหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อเข่า เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย ไขว้ขา หรือการบิดหมุนเข่า, การขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น, การยกหรือแบกของหนักๆ, ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดแรงกดและแรงกระแทกที่ข้อเข่า, หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดหรือใช้ข้อเข่ามาก เช่น บาสเกตบอล การวิ่ง เทนนิส เป็นต้น  ตลอดจนออกกำลังกายและบริการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่แนะนำคือ การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน

โดยแนวทางการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม เริ่มตั้งแต่การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา คือ การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่า ผู้สูงอายุออกกำลังกาย เพื่อบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการปวดข้อเข่ายังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง คือ 

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก มีขาผิดรูปน้อย แพทย์จะให้รับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่ Steroid หรือการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า นอกจากนี้ การออกกำลังกาย การใช้ผ้ายืดพยุงเข่า หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้ค้ำยัน และการทำกายภาพบำบัด สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รักษาตามอาการ เช่น ดูดน้ำออกจากเข่า เพื่อลดอาการบวมและให้สามารถงอ เหยียดเข่าได้ ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของข้อที่มีอาการเจ็บ อาจใช้สเตียรอยด์ในกรณีอักเสบเรื้อรัง
  • ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ และไม่ให้ข้อสึกมากขึ้น
  • รักษาด้วย Platelet Rich Plasma (PRP) โดยการฉีดเกล็ดเลือดของผู้ป่วยที่ผ่านการปั่นแยก จนได้สารเลือดที่เหมาะกับการใช้รักษา เพื่อช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมให้ร่างกายรักษาความเสื่อมของข้อเข่า
  • ฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) ส่วนใหญ่ใช้รักษาควบคู่กับการฉีดเกล็ดเลือด เพื่อลดความฝืดของข้อเข่า

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดจะทำในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ข้อเข่าของผู้ป่วยมีการเสื่อมค่อนข้างมาก และไม่สามารถรักษาโดยการใช้ยาหรือทำกายภาพบำบัดได้ ซึ่งการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดก็มีอยู่หลายวิธีตามสภาพและความรุนแรงของข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจาก อาการ อายุ การงาน อาชีพ และระยะเวลาการพักฟื้น เพื่อเลือกการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อเข่า (Arthroscope) เป็นการผ่าตัดด้วยกล้อง โดยแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ 2 รูใต้ลูกสะบ้า เพื่อสอดกล้องเข้าไปในข้อเข่า แพทย์สามารถมองเห็นผิวกระดูกอ่อน หมอนรองกระดูก ความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อในข้อเข่าผ่านจอมอนิเตอร์ และสามารถประเมินขอบเขตที่สึกหรอในเข่าได้ดีขึ้นมากกว่าข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายทางรังสี ระหว่างการผ่าตัดแพทย์สามารถสอดเครื่องมือพิเศษ เพื่อทำการผ่าตัดตามที่แพทย์ต้องการได้ เช่น การชำระล้างข้อเข่า การดูดเอาเศษเนื้อเยื่อที่ลอยอยู่ในเข่าออก การตกแต่งขอบที่แผลของกระดูกอ่อน การตัดเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นพังพืดที่เสียดสีกับกระดูกอ่อนในเข่า การเย็บซ่อมแซมหมอนรองกระดูก หรือเอ็นไขว้ผ่านกล้อง การผ่าตัดกระตุ้นการซ่อมแซมผิวกระดูกอ่อน เพื่อให้มีการสร้างเนื้อเยื่อเข้าแทนที่กระดูกอ่อนที่สึกหรอไปแล้ว เป็นต้น
  • การผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty) คือ การผ่าตัดที่เอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่เสื่อมมากแล้วออก โดยเก็บรักษาผิวข้อในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียมและกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน ในส่วนของเส้นเอ็นต่างๆ ภายในข้อเข่าจะยังอยู่ในสภาพเดิม ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ข้อเข่าได้ใกล้เคียงข้อเข่าปกติมากที่สุด สามารถลงน้ำหนักเดินได้ใน 1-2 วันหลังผ่าตัด ข้อเข่ามีอายุการใช้งานได้นานมากกว่า 10 ปี ถึง 97-98% และหากมีความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขในอนาคต จะสามารถทำได้ง่ายกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty) จะพิจารณาในรายที่ข้อเข่ามีการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง และได้พยายามรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดความพิการผิดรูปของข้อเข่าในลักษณะเข่าโก่งงอ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมดเป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่เสื่อมบริเวณกระดูกข้อเข่าส่วนต้นขาและบริเวณหน้าแข้ง แล้วเสริมฝังข้อเข่าใหม่ทดแทน ซึ่งทำมาจากวัสดุโลหะชนิดพิเศษที่ได้รับการออกแบบให้เหมือนธรรมชาติ และอยู่ในร่างกายได้ตลอดชีวิตโดยไม่เป็นอันตราย และมีส่วนที่กระดูกอ่อนเทียม ซึ่งทำมาจากวัสดุคล้ายพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความทนทานต่อการใช้งาน

เข่าเสื่อม รักษาอย่างไร รักษาให้หายได้หรือไม่? 

เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาเสร็จสิ้นเรียบร้อย ควรมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ โดยการควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป, หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เข่าเสื่อม เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือนั่งทับเข่าเป็นเวลานาน, งดการเล่นกีฬาที่ทำให้เอ็นฉีกง่าย  เช่น แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล, เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่าให้กระชับแข็งแรง, ฉีดน้ำไขข้อเทียม เมื่อมีอาการหรือตามแพทย์แนะนำ

รวมถึงรับประทานคอลลาเจน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวข้อและหมอนรองกระดูก ทั้งนี้ คอลลาเจนไม่ช่วยลดอาการเจ็บของข้อเข่า แต่เป็นการช่วยเสริมสร้างผิวข้อและหมอนรองกระดูกให้แข็งแรงขึ้นได้ เปรียบเหมือนการรับประทานวิตามินที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน จึงจะเห็นผล ถือเป็นการลดความเจ็บลงทางอ้อม


อ้างอิง