โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไรไม่ให้น้ำตาลขึ้น

สำหรับผู้สูงอายุ โรคภัยไข้เจ็บ ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง หรือ แม้กระทั่งอาการเจ็บป่วยที่เข้ามารบกวนการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างไม่ขาดสาย แน่นอนเลยว่าการรับมือของแต่ละอาการก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับโรคที่ค่อนข้างจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเลยนั่นก็คือ “ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ” เพราะว่าเมื่ออาการแทรกซ้อน จะค่อนข้างอันตราย

อีกทั้งภาวะ “น้ำตาลขึ้น” จะเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลจะต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะนี่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแตกต่างมากสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อย สำหรับวันนี้แน่นอนว่าพวกเราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาพูดถึงกันในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น อาการของโรคนี้ในผู้สูงอายุ วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงการหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคอลลาเจน และ วิธีการออกกำลังในแบบผู้สูงอายุด้วย ต้องบอกเลยว่ามีหลายวิธีให้กับผู้ป่วยได้เลือก นี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่คุณจะต้องรู้เพื่อหาข้อมูลเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้


อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

ความน่ากลัวของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเฝ้าระวังกันเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยทางด้านการรับประทานอาหารที่สะสมน้ำตาลมาเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมา ไม่ได้สนใจเรื่องอาหาร สุขภาพ การออกกำลังกาย ทำให้โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่ทุกคนก็เป็นกันได้ง่าย ๆ โดยอาการเริ่มแรกของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะสามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1. ระยะแรก ยังไม่เห็นอาการแน่ชัด

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในระยะแรกนั้นมักจะยังไม่พบอาการ เพราะว่าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการยังไม่เด่นแน่ชัด แต่มักจะมีอาการรับประทานเก่ง ขึ้น หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ถ้าหากว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน น้ำหนักของตัวเองจะลดลงแบบเฉียบพลัน

2. ระยะมีภาวะแทรกซ้อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ในแบบที่มีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย จะค่อนข้างอันตราย เพราะว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น ตามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า รวมทั้งเกิดโรคต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง  ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกเวลา เพราะเกี่ยวข้องกับหัวใจ และ สมอง 

3. อาการเฉียบพลัน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ มักจะพบอาการเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น อาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ หายใจหอบ มีความรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไป  มีอาการซึม หมดสติ โดยทั้งหมดที่กล่าวมา คืออาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลันนั่นเอง ซึ่งในผู้สูงอายุมักพบบ่อยในกรณีที่ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่กำหนด 


ผลกระทบของโรคเบาหวาน

สำหรับหัวข้อนี้จะขอพูดถึง เรื่องผลกระทบของโรคเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ด้วยตัวของโรคเบาหวานนั้น จะเป็น โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมทั้งพบมากถึงร้อยละ 20 ในจำนวนคนไทย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่อายุยังน้อยก็เพราะว่า เมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิต ฮอร์โมนอินสุลิน ที่ใช้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การที่อายุมากขึ้น ยังอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลินด้วย 

โดยโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลัน กรณีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนอีกหนึ่งกรณีก็คือ ผลกระทบเรื้อรัง จะพบได้ในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เป็นระยะเวลานาน ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อ หลอดเลือดหัวใจ ไต ดวงตา ซึ่งจะพบได้บ่อยว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงมากในกรณีที่เป็นแผล เพราะหายยาก บางรายถึงขั้นต้องยอมเสียอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต แน่นอนเลยว่าด้วยอาการ และ สาเหตุทั้งหมด ผู้สูงอายุจำเป็นมากที่จะต้องมีวิธีดูแล รวมทั้งแผนการรักษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี 


วิธีดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

การดูแลสุขภาพของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ค่อนข้างเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้สูงอายุ ที่จะต้องเจ็บป่วย เพราะบางคนก็ดื้อไม่ยอมทำการรักษา หรือ ทำตามในขั้นตอนวิธีการรักษาที่ถูกต้อง สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเกิดกับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่จะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก ทั้งตัวของผู้ป่วยเอง รวมทั้งผู้ที่ทำการดูแลด้วย ซึ่งจะต้องมีวิธีการดูแล เป็นขั้นตอน และ เรื่องที่ผู้ป่วยต้องพึงระวัง มีดังต่อไปนี้ 

1. วางแผนการรักษา 

ขั้นตอนแรก เมื่อทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือ มีภาวะที่จะต้องเกี่ยวข้องกับโรคนี้ จะต้องวางแผนการรักษาเลยว่าคุณเองป่วยอยู่ในระดับไหน ซึ่งเรื่องนี้ทั้งผู้ดูแล ญาติ รวมทั้งผู้ป่วย จะต้องร่วมกันวางแผนการรักษาร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกโรงพยาบาลที่จะทำการรักษา อีกทั้งข้อมูลของโรคเบาหวานที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทั้งเรื่องของค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งจะต้องช่วยกันควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด

2. รับประทานอาหาร

การรับประทานอาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งเกิดในภาวะของผู้สูงอายุ ย่อมที่จะต้องเคร่งครัดในเรื่องเกี่ยวกับอาหารให้มากด้วยเช่นเดียวกัน ควรงดของหวานที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เพราะว่าจะเกิดผลกระทบต่อหัวใจ หลอดเลือด และ สมอง ยิ่งไปกว่านั้นอาหารบางชนิด ยังไปกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว หรือ โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วยเช่นกัน 

3. ป้องกันไม่ให้ภาวะน้ำตาลต่ำ

สำหรับภาวะน้ำตาลต่ำ ต้องทำความเข้าก่อนว่า ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่ให้สูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไป แต่ในภาวะนี้อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะน้ำตาลต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร 

4. ควบคุมโรคอื่นให้ดี

สำหรับวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในวัยสูงอายุนั้น จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีแล้ว ต้องควบคุมโรคอื่นที่เป็นให้ดีด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบางรายเป็นความดันโลหิตสูงด้วย เป็นโรคไขมันสูงด้วย ก็จะต้องควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจุดที่แย่ที่สุดอาจจะทำให้หัวใจวาย หรือ หลอดเลือดในสมองแตกได้นั่นเอง 

ดังนั้น วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ครอบครัว คนรอบข้าง จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ให้ได้ถ่องแท้ เพราะว่าเป็นโรคที่แตกต่างกับผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งการติดตามผล การดูแลอย่างใกล้ชิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เลี่ยงอาหารรสหวาน เลือกอาหารที่มีกากใย ไขมันต่อ มีการออกกำลังกาย พร้อมทั้ง รับประทานอาหารเสริม อยู่เสมอ ลดความเครียด รวมทั้งสิ่งที่ทำร้ายร่างกายต่าง ๆ โดยเรื่องเหล่านี้ถ้าหากว่าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้ อีกทั้งคุณภาพชีวิตที่จะดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “คอลลาเจน” เป็นสารสกัดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือดได้ 


คอลลาเจนช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือไม่

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะว่าโฆษณาของทาง อาหารเสริมอย่างคอลลาเจน ได้มีการพูดถึงเรื่อง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแน่นอนเลยว่าเมื่อได้ยินแบบนี้ ผู้ป่วยเบาหวานก็พอที่จะมีช่องทางในการควบคุมระดับน้ำตาลในแบบฉบับของตัวเอง แน่นอนเลยว่ายังได้รับการเสริมสร้างคอลลาเจนภายในร่างกายด้วย สำหรับหัวข้อต่อไปนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวของ “คอลลาเจน” กับ “ผู้ป่วยเบาหวาน” ที่สามารถช่วยได้ แล้วยังมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิดด้วย


คอลลาเจน ทานเสริมได้ ช่วยได้เยอะ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เรื่องรับประทานอาหารจะค่อนข้างที่ต้องเคร่งครัดเป็นอย่างมาซึ่งอาจจะทำให้เป็นกังวลเกี่ยวกับ การขาดสารอาหาร หรือ ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อวัน อย่างไรก็ตามเราต้องขอพูดถึงก่อนเลยว่า คอลลาเจน กับ โรคเบาหวานนั้น เกี่ยวข้องกันได้ เพราะผู้ป่วยเบาหวาน จะมีจำนวนคอลลาเจนที่ลดลง เพราะว่าผิวหนังจะมีรอยช้ำได้ง่าย อีกทั้งเมื่อเป็นแผล ก็จะหายช้า นี่ก็คือเหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวาน จะย่อยสลายคอลลาเจนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีอยู่ภายในร่างกายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะเบาหวานในวัยเดียวกัน 

อีกหนึ่งอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกมาทางผิวหนัง นั่นก็คือ ผิวหนังของผู้ป่วยเบาหวาน จะแตกง่าย เกิดการลอกเป็นขุย แห้ง กลายเป็นแผลได้ง่าย หรือมี อาการท้องผูก โดยจะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีด้วย ดังนั้น นี่แหละจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นมากที่จะต้องเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างเร่งด่วน


ผู้ป่วยเบาหวาน เลือกทานคอลลาเจนอย่างไร ? 

ความปลอดภัยของการรับประทานคอลลาเจน ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มั่นใจว่า คอลลาเจนสามารถรับประทานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย แต่สิ่งที่จะต้องระวังในตัวของอาหารเสริมอย่างคอลลาเจนนั้น ต้องระวังระดับน้ำตาลที่อาจจะมีมากเกินไป จนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ มากกว่าการช่วยเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกาย 

สำหรับอาหารเสริมประเภทอื่น มักจะมีส่วนผสมของสารสกัดอื่น ๆ ผสมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น วิตามินซี สารสกัดจากผลไม้ พร้อมทั้งปรุงแต่งน้ำตาล เพื่อเพิ่มรสชาติที่อร่อย ทานง่าย ซึ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่ได้ระวังเรื่องนี้ก็ค่อนข้างที่จะเป็นอันตรายทั้งระยะสั้น และระยะยาวได้เช่นเดียวกัน 


คอลลาเจน มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับคอลลาเจน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาว ที่จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอไป อีกทั้งส่วนของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เมื่อผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานคอลลาเจนเข้าไปแล้วนั้น ก็จะช่วยซ่อมแซมผิวหนัง แผลเป็น พร้อมทั้งรอยเหี่ยวแห้งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยคอลลาเจน จัดเป็นโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งต่อร่างกาย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานแล้ว คอลลาเจน ก็ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย 

เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ทุกอย่างของคอลลาเจน จะเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ซ่อมแซม เสริมสร้าง หรือ ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงเป็นอาหารเสริมอีกหนึ่งประเภท ที่ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ ปลอดภัย แต่ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อยที่ผู้ป่วยเองจะต้องเฝ้าระวัง เพราะบางแบรนด์ก็จะมีส่วนผสมของน้ำตาลด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยทุกคน ก็จะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายนั้นทำงานได้เป็นปกติ พร้อมกับสุขภาพดีอย่างยั่งยืน


วิธีออกกำลังกายในผู้สูงอายุแบบง่ายๆ

อีกหนึ่งกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่จำเป็นเลยว่าจะต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ นั่นก็คือ “การออกกำลังกาย” ซึ่งการออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ทุกเพศ ทุกช่วงอายุ ส่วนความหนักเบา ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงวัยของแต่ละคนนั่นเอง

สำหรับวัยรุ่นก็อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีขั้นตอน ความหนัก ความเบาได้ทุกรูปแบบ เพราะร่างกายยังคงแข็งแรง แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้ว จะให้ไปเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกายแบบหนัก ๆ ก็คงไม่ไหว วันนี้พวกเราจึงได้รวบรวม 7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถทำง่าย เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ขอแนะนำเลยว่า จะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

1. วาดมือขึ้น เท้าแตะข้าง

เริ่มต้นกันด้วยท่าที่ได้ประโยชน์เยอะ ทำง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุ ยิ่งไปกว่านั้นใครที่เข่าไม่ดี น้ำหนักตัวเยอะ ก็สามารถที่จะออกกำลังกายท่านี้ผู้สูงอายุ สามารถทำได้ไม่ยาก โดยแขนทั้ง  2 ข้าง ขึ้นด้านบน แล้วแตะกันที่ระหว่างศีรษะ พร้อมกับยกขาออกไปแตะด้านข้าง ทำสลับกันซ้าย กับ ขวา ท่านี้จะช่วยบริหารแขน พร้อมกับ ขา สำหรับท่านี้จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เพราะได้ขยับตัวในจังหวะที่เร็วขึ้นนั่นเอง 

วิธีการทำท่านี้

อันดับแรกจะต้องยืนให้ตรง กางขาออกเล็กน้อย จากนั้นก็ออกแรงยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ในช่วงระหว่างยกมือขึ้นให้เตะขาซ้ายออกไปด้านข้าง ในส่วนของปลายเท้าแตะพื้น พร้อมกับลดมือลง พร้อมกับดึงขากลับมาสู่ท่าเริ่มต้น จากนั้นก็สลับข้างกันไปตามต้องการ 


2. ท่าย่ำเท้าอยู่กับที่ 

สำหรับท่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ สำหรับผู้สูงอายุ เป็นการทำท่าเต้นออกกำลังกายเบา ๆ ในทุกวัน ซึ่งใช้เป็นท่าเริ่มต้น หรือ ท่าคูลดาวน์ อบอุ่นร่างกายให้พร้อมสำหรับการเต้นออกกำลังกายในท่าต่อไปก็ทำได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ท่านี้ยังช่วยให้กล้ามเนื้อขาได้ออกแรง ดีต่อข้อเข่าของผู้สูงอายุ เพราะว่าไม่มีแรงกระแทกที่ลงไปทางข้อเข่า

วิธีการทำท่านี้

สำหรับท่านี้ทำง่ายมาก เพียงยืนตรง ยกมือแล้วเท้าเอวไว้ ต่อมาย่ำเท้าสลับซ้าย-ขวา ต่อเนื่องกันไปประมาณ 1-2 นาที 


3. หุบศอก กางศอก

ท่าที่ 3 ขอแนะนำการออกกำลังกายเบา ๆ ที่จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อในส่วนบน ที่ง่ายมาก เป็นท่ากางศอก หุบ ศอก ที่เหมาะกับการออกกำลังกายทุกวัน ช่วยในส่วนของไหล่ แขน กล้ามเนื้อยืดหยุ่นขึ้น จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ทุกวัน ทุกช่วงกิจกรรมของการออกกำลังกาย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยืนตรง จากนั้นให้ยกแขนตั้งฉากกับลำตัว ตั้งข้อศอกงอ จากนั้นก็หุบศอกเข้าหากัน รวมทั้งกางออก ค่อย ๆ ทำอย่างช้า ๆ ตามเพลง หรือ ตามที่ต้อการ


4. ท่าโบกแท็กซี่ 

สำหรับท่านี้เป็นท่าที่เพิ่มความกระฉับกระเฉง ให้กับผู้สูงอายุ เป็นท่าที่น่าสนใจมาก เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้นด้วย นับได้ว่าเป็นข้อดี เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เครียดไปกับการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยกมือขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้นก็โบกไปมาตามจังหวะของเพลง ซึ่งสามารถโบกตามความสนุกสนาน หรือ ตามที่ต้องการของผู้ออกกำลังกายได้เลย


5. เท้าเอว หมุนไหล่

ต่อมาขอแนะนำท่านี้ ถือได้ว่าเป็นท่าหมุนเอวไหล่ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ ได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะว่าได้ออกกำลังกายส่วนของต้นแขน ไหล่ ซึ่งจะช่วยให้ข้อต่อของผู้สูงอายุ ยืดหยุ่น ลดความตึงเครียด รวมทั้งความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีด้วย 

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยท่ายืนตรง แล้วแยกขาออก ใช้มือทั้งสองข้าง พร้อมกับ หมุนไหล่ไปทางด้านหน้าเบา ๆ จากนั้นก็หมุนกลับไปด้านหลัง ท่านี้จะช่วยบริหารส่วนหัวไหล่ คลายปวดเมื่อย เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ 


6. ท่าแกว่งแขน 

ท่าพื้นฐานที่ทุกคนรู้จักดี ท่าแกว่งแขวน เป็นท่าที่ผู้สูงอายุทำง่าย เป็นท่าสำหรับการออกกำลังกายเบา ๆ เป็นการเปิดจุดให้เลือดลมไหลเวียนดี เคล็ดลับของท่านี้คือจะต้องทำเบา ๆ ในช่วงเริ่มต้น แล้วค่อยเพิ่มไปแรงได้ เป็นท่าสบาย ๆ กับ กิจกรรมวันเบา ๆ 


7. บริหารลำตัว

สำหรับท่านี้ จะช่วยให้ร่างกายมีการบริหารแขน หลัง ไหล่ รวมทั้งช่วงลำตัวด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมมากขึ้น ช่วยให้เดินเหินสะดวก รู้สึกสดชื่น

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยการยืนตรง ยกมือเท้าเอว จากนั้นก็บิดลำตัวไปทางซ้ายช้า ๆ ก่อนที่จะบิดกลับมาทางขวา ทำแบบนี้สลับกันไป เซ็ตละ 15 ครั้ง 


สำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำเป็นมากที่ต้องใช้ท่าที่ทำง่าย สะดวก ไม่หนักจนเกินไป เพราะว่าผู้สูงอายุ ไม่ได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงเหมือนวัยรุ่น หรือวัยเด็ก ดังนั้น การเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ คือ การหันมาใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น จะต้องมีการตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับอาการเจ็บปวด ใส่ใจในการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเช่นเดียวกัน โรคเบาหวาน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรัง ที่ทั้งผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ทุกช่วงวัย สามารถเป็นได้ แต่ที่ค่อนข้างอันตรายก็คือในวัยผู้สูงอายุ เพราะโรคแทรกซ้อนเพียงช่วงเวลาเดียวก็สามารถทำให้ มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นแล้ว การสังเกตอาการของโรค การทำความเข้าใจกับโรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ การมองหาทางเลือกเสริมอย่างคอลลาเจน ที่ช่วยให้อาการเบาหวาน หรือ ลดน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ มีร่างกายที่แข็งแรง ลดความเครียด ลดซึมเศร้า เชื่อเลยว่าข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้จะเป็นเรื่องราวสาระดี ๆ ให้กับคนที่กำลังหาทางออกเกี่ยวกับ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ นั่นเอง


อ้างอิง